Page 36 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
3. การเจริญเติบโตของหญ้าแฝก
จากการปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 โดยใช้กล้าแบบเปลือยราก ปลูกตามวิธีการทดสอบ
เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของหญ้าแฝก พบว่า ในช่วงอายุ 5 เดือน อัตราการแตกหน่อของหญ้าแฝก
สายพันธุ์สงขลา 3 ที่ปลูกโดยมีการปรับปรุงดิน มีแนวโน้มการแตกกอสูงกว่าวิธีที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
โดยวิธีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ มีอัตราการแตกหน่อของหญ้าแฝกสูงสุด 28
หน่อต่อก่อ ช่วงอายุ 7 เดือน วิธีปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักร่วมกับโพลิเมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1
ตันต่อไร่ และใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถวหญ้าแฝก 10 เมตร มีอัตราการแตกหน่อของหญ้า
แฝกสูงสุด 37 หน่อต่อก่อ เช่นเดียวกับความสูงของหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 ที่ปลูกโดยมีการ
ปรับปรุงดินมีแนวโน้มต้นสูงกว่าวิธีที่ไม่ได้ทำอะไรเลย ในช่วงอายุ 5 เดือน วิธีปรับปรุงดินด้วยปุ๋ย
หมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ ความสูงของหญ้าแฝกสูงสุด 136 เซนติเมตร ช่วงอายุ 7 เดือน ปรับปรุงดิน
ด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ ความสูงของหญ้าแฝกสูงสุด 142 เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่า การใส่ปุ๋ย
หมักในการปรับปรุงดินมีผลทำให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
4.มวลชีวภาพของหญ้าแฝก
จากการศึกษาเปรียบเทียบน้ำหนักสดของหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3 ในช่วงอายุ 5 เดือน
พบว่า น้ำหนักสดของหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 ที่ปลูกโดยมีการปรับปรุงดินมีน้ำหนักสดสูงกว่าวิธี
ที่ไม่ได้ทำอะไรเลย โดยวิธีปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ มีน้ำหนักสดของหญ้าแฝกสูงสุด
1,960.96 กิโลกรัมต่อไร่ เช่นเดียวกับน้ำหนักแห้ง ที่ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ มี
น้ำหนักแห้งของหญ้าแฝกสูงสุด 963.52 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงอายุ 7 เดือน พบว่า ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ย
หมักร่วมกับโพลิเมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 ตันต่อไร่ และใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถว
หญ้าแฝก 10 เมตร มีน้ำหนักสดของหญ้าแฝกสูงสุด 3,590.40 กิโลกรัมต่อไร่ เช่นเดียวกับน้ำหนัก
แห้ง ที่ วิธีปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักร่วมกับโพลิเมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 ตันต่อไร่ และใส่โพลิ
เมอร์ อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถวหญ้าแฝก 10 เมตร มีน้ำหนักแห้งของหญ้าแฝกสูงสุด 1,633.92
กิโลกรัมต่อไร่
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า ทั้งการใส่ปุ๋ยหมัก และการใส่โพลิเมอร์รองก้นหลุมมีผลช่วยให้มวล
ชีวภาพของหญ้าแฝกเพิ่มขึ้น