Page 35 - การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       33


                                                       สรุปและข้อเสนอแนะ


                              การวิจัยทดสอบและเก็บข้อมูลด้านวิชาการพัฒนาที่ดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของ
                       มูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน  ดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562 ถึงเดือน กันยายน 2563
                       โดยทำการปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 โดยใช้กล้าแบบเปลือยราก ปลูกตามวิธีการทดสอบใน
                       พื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว

                       จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญทางกายภาพและทางเคมีของดินจาก
                       การพัฒนาที่ดิน และอัตราการรอดตาย การเจริญเติบโต รวมถึงมวลชีวภาพของหญ้าแฝกสายพันธุ์
                       สงขลา 3 ที่นำมาปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินบ้านเกริ่นกระถิน จากการศึกษาทดลองสามารถ

                       สรุปผลได้ดังนี้

                       1. ข้อมูลดินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเกริ่นกระถิน ตำบลเนินขี้เหล็ก

                       อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

                              จากการศึกษาข้อมูลดินในพื้นที่โครงการฯประมาณ 61 ไร่ พบว่า มีดิน 2 ดินคล้าย (soil
                       variant)  คือ ดินปากท่อที่เป็นดินร่วนละเอียด มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาดชัน 0-2
                       เปอร์เซ็นต์ ลึกมาก ไม่มีการกร่อน จำนวน 55 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 90.16 ทีเหลือเป็นดินปากท่อที่ไม่มี
                       ศิลาแลงอ่อนและเป็นดินร่วนละเอียด มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์

                       ลึกมาก ไม่มีการกร่อน จำนวน 4 ไร่ และพื้นที่ แหล่งน้ำ 2 ไร่  ซึ่งดินบริเวณที่ทำแปลงวิจัยทดสอบ
                       เป็นดินปากท่อที่เป็นดินร่วนละเอียด แต่ลักษณะทางกายภาพดินเปลี่ยนไปจากเดิมเนื่องจากเป็นดิน
                       ถมที่นำดินล่างขึ้นมาถมด้านบน


                       1.สมบัติทางเคมีของดิน

                              จากการดำเนินการวิจัย พบว่า ดินหลังการทดลองมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในช่วงด่าง
                       ปานกลางถึงด่างจัด ปริมาณอินทรียวัตถุลดลงทุกตำรับการทดลองอยู่ในระดับต่ำมาก ปริมาณ

                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในตำรับการทดลองที่มีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก โดย
                       เพิ่มจากระดับต่ำเป็นสูงมาก ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยหมักเพื่อการปรับปรุงดิน ส่วนปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีแนวโน้มลดลง จัดอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง

                       2.อัตราการรอดตายของหญ้าแฝก

                              จากการปลูกหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลา 3 โดยใช้กล้าแบบเปลือยราก ปลูกตามวิธีการทดสอบ
                       พบว่า อัตราการรอดตายของหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3 ที่ปลูกโดยมีการปรับปรุงบำรุงดินมีแนวโน้ม
                       อัตราการรอดตายสูงกว่าวิธีที่ไม่ได้ปรับปรุงดิน โดย วิธีการปรับปรุงดินด้วยด้วยปุ๋ยหมักร่วมกับโพลิ

                       เมอร์ โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1 ตันต่อไร่ และใส่โพลิเมอร์อัตรา 0.25 ลิตร ต่อแถวหญ้าแฝก 10
                       เมตร (ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร) มีอัตราการรอดตายของหญ้าแฝกสูงสุด แสดงว่าทั้งการใส่ปุ๋ย
                       หมัก และการใส่โพลิเมอร์รองก้นหลุมมีผลช่วยให้หญ้าแฝกรอดตายมากขึ้น
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40