Page 34 - เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน OVERVIEW of TECHNOLOGIES and APPROACHES for SUSTAINABLE DEVELOPMENT
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



        มาตรการจัดการดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชด าริ ‘แกล้งดิน’




                                     1. ควบคุมระดับน้ าใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้

                                        สารไพไรท์ท าปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือเกิดกระบวนการออกซิเดชันจนท าให้
                                        เกิดกรดก ามะถันได้

                                      2. ปรับปรุงดิน ท าได้ 3 วิธีการ คือ

                                        (1) การใช้น้ าชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินเปรี้ยวจัดให้คลายลงแล้ว ดินจะ
                                        มีค่า pH เพิ่มขึ้น สารละลายเหล็กและอลูมินัมที่มีปริมาณมากและเป็นพิษก็จะ

                                        เจือจางลง

                                        (2) การใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เช่น ปูนมาร์ล หินปูนฝุ่น เป็นต้น
                                        (3) การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ าชะล้างและควบคุมระดับน้ าใต้ดิน วิธีการนี้

                                        เป็นวิธีการที่ได้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดและถูกปล่อยทิ้ง
                                        เป็นเวลานาน


                                     3. ปรับสภาพพื้นที่ ท าได้ 2 วิธี คือ
                                        (1) ส าหรับการปลูกข้าวหรือพืชอายุสั้นบางชนิด ให้ปรับระดับผิวหน้าดินให้มี

                                        ความลาดเอียงเพื่อให้น้ าไหลไปสู่คลองระบายน้ า
                                        (2) ส าหรับการปลูกไม้ผลหรือพืชอายุสั้นอื่นๆ ควรปรับระดับพื้นที่ด้วยการขุด

                                        ยกร่อง และไม่ควรน าดินล่างมาถมทับดินบนเพราะจะเป็นการน าดินชี่นที่มีสาร
                                        ไพไรท์ขึ้นมาไว้ด้านบน และควรใส่ปูนร่วมกับการล้างดินออกจากพื้นที่





      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดาริและกรม
      พัฒนาที่ดินร่วมกันส่งเสริมแนวทางที่เหมาะสมสาหรับการจัดการดิน

      เปรี้ยวจัดสู่เกษตรกรทั้งการสาธิตในพื้นที่ศูนย์ศึกษาฯ และพื้นที่
      เกษตรกร พร้อมทั้งสร้างการยอมรับของเกษตรกรให้มีการน า

      เทคโนโลยีที่เหมาะสมนี้ไปปฏิบัติในพื้นที่เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด

      เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ด้วยเหตุนี้ พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในพื้นที่
      หมู่บ้านโคกอิฐ-โคกใน อ าเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สามารถเพิ่ม

      ผลผลิตข้าวจากเดิม 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 400-500 กิโลกรัม

      ต่อไร่ ซึ่งนับว่าประสบความส าเร็จอย่างมาก นอกจากนั้น เกษตรกร
      สามารถน าแนวทางมาปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดให้สามารถปลูกพืช

      เศรษฐกิจอื่นๆ เช่น พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นต้น และสามารถน า
      แหล่งน้ าที่ไม่สามารถใช้ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ท าให้เกษตรกร

      สามารถเพิ่มรายได้ของครัวเรือนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น







                                                                                                                 29
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39