Page 57 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คำฝอย ตะไคร้ พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-15





                             S3  หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยสําหรับพืชสมุนไพร (Marginally suitable )

                              N  หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสมสําหรับพืชสมุนไพร (Not suitable)

                            นอกจากนี้ในแต่ละชั้นของความเหมาะสม (Class)  ยังแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Subclass)

                  ซึ่งเป็นข้อจํากัดของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชสมุนไพร เช่นความเสียหาย

                  จากการกัดกร่อน (e) สภาวะการหยั่งลึกของราก (r) และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) เป็นต้น

                  ตารางที่ 3-5 โครงสร้างการจําแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                             Order                                              Class                                          Subclass


                             S : Suitable                                       S1

                                                                                      S2                                              S2m
                                                                                      S3                                              S2e
                                                                                                                                        S2me

                             N : Not suitable                                N




                  3.6  คุณภาพที่ดินที่ใช้ในการประเมินและชั้นความเหมาะสมของที่ดินสําหรับสมุนไพร
                          ในการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสําหรับพืชสมุนไพร 10 ชนิด ได้แก่ กระชายเหลือง


                  กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก นั้นใช้คุณภาพที่ดินทั้ง 12 ชนิด
                  โดยใช้ตามคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ ของกองวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                  (บัณฑิต และคํารณ, 2542) ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับของ FAO Framework ปี 1983 ซึ่งเป็นวิธีที่กองนโยบาย

                  และแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ใช้ประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจต่างๆในปัจจุบัน สําหรับ
                  การแบ่งระดับของปัจจัย (Factor rating) นั้นใช้ข้อมูลความต้องการของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่อ้างอิงมาจาก

                  เอกสารวิชาการและงานวิจัยจากหน่วยงานราชการ และมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสํารวจ

                  และสัมภาษณ์เกษตรกรในแหล่งปลูกสมุนไพรที่สําคัญภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังใช้ข้อมูลความต้องการ
                  ของพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงษ์ (Family) เดียวกันและมีลักษณะการเจริญเติบโตใกล้เคียงกันในการพิจารณาร่วม

                  ด้วย จากนั้นนํามาแบ่งเป็นระดับต่างๆโดยอ้างอิงการแบ่งระดับของปัจจัยในพืชที่อยู่วงษ์เดียวกัน

                  และมีลักษณะการเจริญเติบโตใกล้เคียงกันซึ่งอยู่ในคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจของ
                  กรมพัฒนาที่ดิน อย่างไรก็ตามค่าพิสัยของคุณภาพที่ดินบางชนิด มีข้อจํากัดด้านข้อมูล ได้แก่ ปริมาณ

                  อินทรียวัตถุ ชั้นการหยั่งลึกของราก จํานวนครั้งที่นํ้าท่วมในช่วงรอบปีที่กําหนดและปริมาณดินที่สูญเสีย

                  เป็นต้น จึงไม่ได้นํามาใช้ในการประเมินระดับชั้นความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชสมุนไพรทั้ง 10 ชนิดใน
                  ครั้งนี้





                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                  กระชายเหลือง กระวาน ข่า ขิง คําฝอย ตะไคร้ บุก พริกไทย ฟ้าทะลายโจร และว่านชักมดลูก   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62