Page 52 - แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพร กระเจี๊ยบแดง เก็กฮวย ดีปลี บอระเพ็ด พญายอ เพชรสังฆาต มะระขี้นก มะลิ มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น
P. 52

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          3-12





                          13) ความเสียหายจากการกัดกรอน (Erosion hazard)

                            คุณลักษณะที่ดินที่เปนตัวแทนไดแก ความลาดชันของพื้นที่และปริมาณดินที่สูญเสีย (Soil

                  loss) พื้นที่มีความลาดชันสูงโอกาสที่ดินจะถูกกัดกรอนก็เปนไปไดงายขึ้น เมื่อผิวหนาดินถูกกัดกรอนซึ่ง
                  สวนใหญเกิดจากอิทธิพลของน้ํา ดินจะถูกพัดพาไปโดยขบวนการไหลบาของน้ําทําใหธาตุอาหารพืชที่อยู

                  ในดินสูญเสียตามไป รวมทั้งตะกอนที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบตอสภาพแวดลอมโดยทั่วไป

                            การวัดและประเมินคุณภาพที่ดิน
                            เนื่องจากคุณภาพที่ดินสําหรับพืชสมุนไพรเปนนามธรรมไมสามารถวัดออกเปนคา (Value)

                  เชิงปริมาณไดในการจะบอกวา ดี เลว และขอจํากัดวามีมากนอยรุนแรงอยางไร แตหากจําเปนตองมีการ
                  วัดคุณภาพที่ดินสําหรับพืชสมุนไพร สามารถหาไดจากองคประกอบของคุณภาพที่ดินคือ คุณลักษณะ

                  ที่ดิน (Land  characteristic)  ซึ่งในบางกรณีจะมีคุณลักษณะที่ดินเพียงตัวเดียว หรือบางกรณีอาจมี

                  หลายตัว ซึ่งแตละตัวมีหนวยวัดตางกัน จึงเปนอีกสาเหตุหนึ่งที่คุณภาพที่ดินไมมีหนวยวัด และจากที่ใช
                  คุณลักษณะที่ดินหลายตัวเปนตัวแทนคุณภาพที่ดินเดียวกัน  ดังนั้นจึงมีการคาดคะเนผลจากการรวมกัน

                  ของปจจัยตางๆ (Diagnostic  factors)  ในที่นี้ใชหลักการประเมินจากกลุมคุณลักษณะที่ดินมีขอจํากัด
                  รุนแรงที่สุด (Most limiting group of land characteristics) โดยมีขอดี คือมีความสัมพันธกับการ

                  เจริญเติบโตและการใหผลผลิตโดยตรง และขอเสีย คือการประเมินเริ่มซับซอนมากขึ้น และความรุนแรง

                  ของขอจํากัดอาจมีผลรวมจากปจจัยอื่นที่มิไดนํามาประเมิน


                  3.4  ความตองการของประเภทการใชประโยชนที่ดิน (Land-use  requirement)

                  สําหรับพืชสมุนไพร

                            การผลิตพืชสมุนไพรแตละชนิดโดยทั่วไปมีความตองการปจจัยและสิ่งแวดลอมที่เหมาะสม

                  แตกตางกัน ความตองการปจจัยและสภาพแวดลอมที่มีผลกระทบตอการเจริญเติบโตและการใหผลผลิต
                  ของพืชสมุนไพรนั้นเรียกวา “ความตองการดานพืช” (Crop  requirements)  ขณะเดียวกันสําหรับ

                  เกษตรกรผูผลิตพืชสมุนไพรเองนั้นควรตองพิจารณาถึงความตองการทางดานเทคโนโลยีการผลิต การ
                  ดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต เครื่องมือและเครื่องจักรกล การใชปุยเคมีและสารเคมี แรงงานใน

                  การผลิต เงินทุน และผลตอบแทนในการผลิตพืชสมุนไพรแตละชนิด ความตองการทางดานนี้เรียกวา

                  “ความตองการดานการจัดการ” (Management requirements) และความตองการอีกดานหนึ่งเพื่อที่
                  สามารถใชทรัพยากรที่ดินผลิตพืชสมุนไพรไดตลอดไปอยางยั่งยืนโดยไมทําลายคุณภาพของที่ดิน หรือ

                  สิ่งแวดลอมที่อยูรอบๆ ความตองการทางดานนี้เรียกวา “ความตองการดานการอนุรักษ”
                  (Conservation    requirements)     จากความตองการปจจัยและสิ่งแวดลอมทั้ง 3     ดานนี้

                  จึงสามารถแสดงรายละเอียดของความตองการคุณภาพที่ดินในแตละกลุมสําหรับการผลิตพืชสมุนไพรดัง

                  ตารางที่ 3-3



                  แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชสมุนไพร
                  กระเจี๊ยบแดง เกกฮวย ดีปลี บอระเพ็ด พญายอ เพชรสังฆาต มะระขี้นก มะลิ มะแวงเครือ และมะแวงตน   กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57