Page 32 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          20






                         การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยที่ดินต่อการใช้

               ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินมีหลายวิธี
               กลุ่มวางแผนทรัพยากรน้ าเพื่อการพัฒนาที่ดินได้เลือกใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินตามหลักการของ

               FAO Framework ซึ่งมีจ านวน 2 รูปแบบ แต่ในการประเมินคุณภาพที่ดินเบื้องต้นจะท าการประเมินเพียง
               ด้านเดียว คือ การประเมินทางด้านคุณภาพ เป็นการประเมินเชิงกายภาพว่าที่ดินนั้นๆ มีความเหมาะสม

               มากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ โดยศึกษาการประเมินคุณภาพดินร่วมกับประเภทการ

               ใช้ที่ดินที่ได้ก าหนดเป็นตัวแทนการเกษตรกรรมหลักในลุ่มน้ าสาขา การวิเคราะห์ได้ค านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อ
               การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละด้านของดินที่แตกต่างกัน โดยอาศัยคุณลักษณะดินแตกต่างกันไปตามวัตถุ

               ต้นก าเนิดของดิน ซึ่งคุณลักษณะที่ดินที่ใช้ในการแสดงค่าเพื่อวัดระดับการเจริญเติบโตแตกต่างกัน

                          คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืช ในระบบ FAO Framework ได้ก าหนดไว้
               ทั้งหมด 25 ชนิด แต่ที่น ามาพิจารณาเพื่อประเมินความเหมาะสมของที่ดินในแต่ละประเภทการใช้ที่ดินมี

               จ านวน 8 คุณภาพที่ดิน ประกอบด้วย

                         1) ระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime: T)
                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิในฤดูเพาะปลูก เพราะอุณหภูมิมี

               อิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด การออกดอกของพืชบางชนิด และมีส่วนสัมพันธ์กับกระบวนการสังเคราะห์
               แสง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช

                         2) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability: M)
                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระยะเวลาการท่วมขังของน้ าในฤดูฝน ปริมาณน้ าฝน

               เฉลี่ยในรอบปีหรือความต้องการน้ าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ได้พิจารณาถึงลักษณะของ

               เนื้อดิน ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการอุ้มน้ า ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                         3) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability: O)

                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วไป

               รากพืชต้องการออกซิเจนในกระบวนการหายใจ
                         4) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability: S)

                            คุณลักษณะที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน

                         5) ความเสียหายจากน้ าท่วม (Flood hazard: F)
                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ จ านวนครั้งที่น้ าท่วมในช่วงรอบปีที่ก าหนดไว้ หมายถึง

               พืชได้รับความเสียหายจากการที่น้ าท่วมบนผิวดินชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือเป็นน้ าที่มีการไหลบ่า การที่น้ าท่วมขัง
               จะท าให้ดินขาดออกซิเจน ส่วนน้ าไหลบ่าจะท าให้รากพืชได้รับความกระทบกระเทือนหรือรากอาจหลุดพ้น

               ผิวดินขึ้นมาได้ ความเสียหายจากน้ าท่วมไม่ใช่จะเกิดกับพืชเท่านั้น แต่ยังท าความเสียหายให้กับดินและ

               โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37