Page 33 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             21



                             6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions: R)

                                คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้ าใต้ดิน และชั้น
                   การหยั่งลึกของราก โดยความยากง่ายของการหยั่งลึกของรากในดินมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน

                   โครงสร้างของดิน การเกาะตัวของเม็ดดิน และปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบบนหน้าตัดดิน

                             7) ศักยภาพในการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization: W)
                                คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อน

                   หิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด  ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 นี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนโดยเครื่องจักร
                             8) ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard: E)

                                คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่




                                การจ าแนกความเหมาะสมของที่ดินตามหลักเกณฑ์ของ FAO Framework เป็นการ

                   ประเมินศักยภาพของที่ดินส าหรับการปลูกพืชหรือประเภทการใช้ที่ดิน โดยการพิจารณาเปรียบเทียบ

                   ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพที่ดินกับความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญ เติบโตของพืชหรือ
                   ประเภทการใช้ที่ดินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับใด และมีข้อจ ากัดใดบ้าง โดยได้จ าแนกความเหมาะสม

                   ออกเป็น 4 ชั้น คือ

                                 S1      : ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง
                                 S2      : ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง
                                 S3      : ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย

                                 N       : ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม



                              จากการประเมินคุณภาพที่ดินสามารถสรุปพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกพืชแต่ละชนิดโดย

                   พิจารณาจากเนื้อที่ประเภทการใช้ที่ดินที่ด าเนินการปลูกจริงและมีเนื้อที่การปลูกพืชมากที่สุดในลุ่มน้ าห้วย

                   ต าแย จ านวน 5 ประเภทการใช้ที่ดิน เป็นพืชตัวอย่างที่น ามาพิจารณาชั้นความเหมาะสมตามศักยภาพของของ
                   เนื้อที่ลุ่มน้ า

                              ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดท าแผนการใช้ที่ดิน จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของ
                   ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพการใช้ที่ดินร่วมกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในพื้นที่โครงการฯ โดยการ

                   วิเคราะห์อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องรักษาสภาพป่าไม้และระบบนิเวศของพื้นที่ไว้ ร่วมกับการใช้พื้นที่ให้

                   เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ภายใต้ข้อจ ากัดการใช้ที่ดินของภาครัฐ
                   และต้องสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจสังคมของชุมชนในพื้นที่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการ

                   มีส่วนร่วมของชุมชนและภาครัฐในการพิจารณาจัดท าแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่โครงการฯ เพื่อให้เกิดการใช้

                   พื้นที่อย่างยั่งยืน และคงไว้ซึ่งสมดุลของระบบนิเวศรวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการฟื้นฟูและ
                   อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38