Page 146 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 146

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             107



                   จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ 12,700 ไร่ โดยการวิเคราะห์อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องรักษาสภาพป่าไม้และ

                   ระบบนิเวศของพื้นที่ไว้ ร่วมกับการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินตามประเภทการใช้ที่ดิน
                   ภายใต้ข้อจ ากัดการใช้ที่ดินของภาครัฐ และต้องสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจสังคมของชุมชนในพื้นที่

                   ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาครัฐในการพิจารณาจัดท าแผน

                   การใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยต าแย เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างยั่งยืน และคงไว้ซึ่งสมดุลของ
                   ระบบนิเวศรวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ า

                   ต่อไป
                         จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเพื่อการพิจารณาก าหนดเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่ด าเนินการพื้นที่ลุ่มน้ า

                   ห้วยต าแย อ าเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินท ากินในพื้นที่ ได้เป็น 4

                   เขตหลัก คือ 1) เขตเกษตรกรรม 2) เขตชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 3) เขตแหล่งน้ า และ 4) เขตพื้นที่คงสภาพ
                   ป่าไม้นอกเขตป่าตามกฎหมาย (ตารางที่ 5-4 และภาพที่ 5-6) โดยมีดังนี้





                              มีเนื้อที่ประมาณ 10,470 ไร่ หรือร้อยละ 82.44 ของพื้นที่ด าเนินการ พื้นที่ด าเนินการใน
                   เขตนี้อยู่นอกเขตที่มีการประกาศเป็นเขตป่าไม้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นพื้นที่ท ากินมีการออกเอกสารสิทธิ์

                   (โฉนด และ ส.ป.ก.) และจากการพิจารณาสามารถแบ่งพื้นที่ตามความเหมาะสมของที่ดินและศักยภาพ

                   ของพื้นที่ได้เป็น 5 เขตย่อย ดังนี้

                              1) เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีความลาดชันน้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ (หน่วยแผนที่ 24)
                                มีเนื้อที่ประมาณ 3,524 ไร่ หรือร้อยละ 27.75 ของพื้นที่ด าเนินการ พื้นที่เขตนี้มีการใช้

                   ที่ดินเพื่อการปลูกมันส าปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ ามัน เกษตรผสมผสาน ไร่ร้าง ข้าวโพด ยูคาลิปตัส ตะกู

                   มะม่วงหิมพานต์ บัว และพริก ในสภาพพื้นที่มีความลาดชันน้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ มีข้อเสนอแนะในการ
                   ใช้พื้นที่เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีความลาดชันน้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้

                                 - ควรท าคันดินเบนน้ าเพื่อป้องกันน้ าที่จะไหลบ่าเข้ามาจากพื้นที่ด้านนอก ซึ่งอาจจะท า
                   ความเสียหายให้แก่พืชในพื้นที่ได้ และยังช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และอาจต้องท าทางระบายน้ า

                   ออกจากพื้นที่แต่ถ้ามีทางน้ าธรรมชาติอยู่แล้วควรรักษาให้อยู่ในสภาพดี

                                 - ควรจัดระบบปลูกพืชให้เหมาะสมโดยการไถพรวน และปลูกพืชขวางความลาดเท และ
                   ควรจัดให้มีพืชขึ้นปกคลุมหน้าดินตลอดทั้งปี สนับสนุนการปลูกไม้โตเร็วควบคู่กับการอนุรักษ์ดินและน้ า

                   เน้นการท าการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการปลูกพืชให้หลากหลาย

                   ชนิดทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ และพืชผัก
                                 - พัฒนากระบวนการผลิตไม้ผล ส่งเสริมการผลิตพืชปลอดสารพิษ เพิ่มศักยภาพการผลิต

                   โดยปรับปรุงโครงสร้างของดินด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วในพื้นที่ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน ส่งเสริมการใช้

                   ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151