Page 7 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 7
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
พื้นที่เกษตรของบ้านวังไทร หมู่ 7 ต าบลไร่ใหม่ อ าเภอสามร้อยยอด บ้านโป่งกระสัง หมู่ 4 บ้านยางชุม หมู่
5 บ้านยางชุมเหนือ หมู่ 6 บ้านรวมไทย หมู่ 7 บ้านย่านซื่อ หมู่ 9 และบ้านเขาน้ าตก หมู่ 11 ต าบลหาด
ขาม อ าเภอกุยบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันสูง มีลักษณะเป็นพื้นลูกคลื่นลอนชันถึงเนินเขา (ความลาด
ชัน 12-35 เปอร์เซ็นต์) มีลักษณะการชะล้างพังทลายของดินเป็นร่องลึกเกิดขึ้นทั่วไป และมีการใช้ที่ดินใน
การปลูกสับปะรด
เมื่อพิจารณาถึงการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่ และแต่ละระดับแม้ในพื้นที่ที่มี
การชะล้างพังทลายในระดับน้อย มีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการใช้
มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และหากมีการละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตามหลัก
วิชาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการสูญเสียดินปริมาณและคุณภาพผลผลิต และ
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ า ปุ๋ย จนส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
ตามไปด้วย
จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของ
ดิน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
ในแต่ละวิธีมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาความต้องการ วิธีการรักษาและป้องกันการชะล้างพังทลาย
ของดิน จะเห็นว่า เกษตรกรคิดว่าการปลูกหญ้าแฝก และการท าฝายน้ าล้นหรือคันชะลอความเร็วของน้ า
สามารถป้องกันการชะล้างการพังทลายของดิน ในขณะที่การบุกรุกป่าตัดไม้ท าลายป่า การขุดถนน ท าให้
เกิดการชะล้างพังทลายของดิน เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนเหนือ
ต้นทุนทั้งหมดของการปลูกพืชในพื้นที่ที่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินที่แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่า
ต้นทุนการผลิตของพืชแต่ละชนิดมีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับความรุนแรงของดินที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งต้นทุนที่
เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนผันแปรในการผลิต อาทิ ค่าจ้างแรงงาน ค่าปุ๋ย ค่าต้น
พันธุ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลผลิตของพืชทุกชนิดลดลงตามความรุนแรงของการชะล้างการ
พังทลายของดิน มะม่วง ปาล์มน้ ามัน และ ไม้ผลผสม ในขณะที่ยางพาราและสับปะรดมีการเปลี่ยนแปลง
เล็กน้อย
ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อด าเนินการ โดยอาศัยปัจจัยหลักและเกณฑ์ที่ก าหนด ส าหรับพิจารณา
จัดล าดับความส าคัญมี 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน (2)
เอกสารสิทธิ์ (3) การใช้ที่ดิน (4) กิจกรรมที่ด าเนินงานในพื้นที่ (5) แผนปฏิบัติงานของพื้นที่ (6) ความ
ต้องการของชุมชน พบว่า บ้านวังไทร เป็นพื้นที่ที่มีความส าคัญอันดับต้น ๆ ที่คัดเลือกเป็นพื้นที่ด าเนินการ
รองลงมา คือ บ้านย่านซื่อ บ้านโป่งกระสัง บ้านยางชุม บ้านยางชุมเหนือ บ้านรวมไทย และบ้านเขาน้ าตก
ตามล าดับ ซึ่งในแต่ละสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การด าเนินงาน