Page 6 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
จากการศึกษาและส ารวจข้อมูลดินในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองกุย เพื่อจัดท าฐานข้อมูลและประเมินสถานภาพ
ทรัพยากรดิน โดยเน้นด้านการชะล้างพังทลายของดิน ทั้งนี้เพื่อน าไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการใช้ที่ดิน
ด้านการเกษตร และก าหนดมาตรการเพื่อป้องกันชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม
ผลการจ าแนกสภาพปัญหาของดินหรือข้อจ ากัดต่อการใช้ที่ดิน ด้านการเกษตร แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก
ได้แก่ (1) ดินตื้น เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชด้านการชอนไชของรากพืช ครอบคลุมเนื้อที่รวม
62,438 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 18.89 (2) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ครอบคลุมเนื้อที่รวม 45,347 ไร่ หรือ
คิดเป็นร้อยละ 13.71 (3) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ครอบคลุมเนื้อที่ 839 ไร่ หรือคิดเป็น
ร้อยละ 0.25 และ (4) ปัญหาพื้นที่มีความลาดชันสูง ส่วนใหญ่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าไม้ มีเนื้อที่
211,610 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 64.01 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า
จากการศึกษาความสัมพันธ์ของ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การใช้ที่ดิน และทรัพยากรดินข้อมูลสภาพ
ภูมิอากาศ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ าคลองกุยมีพื้นที่ 528.93 ตารางกิโลเมตร (330,583 ไร่) แบ่งพื้นที่รับน้ า
ออกเป็น 5 พื้นที่ มีปริมาณน้ าท่าคิดเป็น 43.18 30.16 24.35 18.21 และ 19.65 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี
ตามล าดับ แสดงให้เห็นว่าลุ่มน้ าคลองกุยมีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเก็บกักน้ าท่าเพื่อใช้ในพื้นที่
การเกษตรได้
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรมในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2554
(70,991 ไร่) โดยมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 361 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.51 ของเนื้อที่เดิม เนื่องจากการ
เพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่ และการเพิ่มขึ้นของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ท าให้มีความ
ต้องการสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ที่ดินส าหรับพืชไร่ ซึ่งมีพื้นที่เพิ่มขึ้นชัดเจนในปี พ.ศ.
2562 ถึงร้อยละ 20.33 ของเนื้อที่เดิม (พ.ศ. 2554) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น
สับปะรด นอกจากนี้มีพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นจากเดิม 6,142 ไร่ เป็น 13,285 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ
53.76 ของเนื้อที่เดิม
พื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับน้อย โดยมีปริมาณ การสูญเสียดิน 0-2
ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80.88 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า นอกจากนี้ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศ
แบบเนินเขา แบบสูงชัน และแบบสูงชันมากจะเกิดการชะล้างพังทลายของดินที่มีความรุนแรงมากที่สุด
โดยก่อให้เกิดปริมาณการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี (ร้อยละ 3.73 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า) พบบริเวณ