Page 115 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 115

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                             85


                                - รณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและบ ารุงรักษาผืนป่าในพื้นที่ร่วมกัน

                                2) เขตฟื้นฟูทรัพยากรป่าตามธรรมชาติ (หน่วยแผนที่ 122) เขตนี้มีเนื้อที่ 65 ไร่ หรือร้อยละ
                   0.07ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันมีสภาพเป็นพื้นที่ป่ารอสภาพฟื้นฟู และ บางบริเวณมีการใช้

                   ประโยชน์เพื่อการเกษตร ได้แก่ บริเวณที่มีการปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย และมันส าปะหลัง ในสภาพพื้นที่มี

                   ความลาดชัน 2-5เปอร์เซ็นต์ และบางส่วนมีความลาดชันมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ มีข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่
                   ในเขตฟื้นฟูสภาพป่าธรรมชาติ ดังนี้

                                - ก าหนดมาตรการและแนวทางในการป้องกันมิให้ราษฎรบุกรุกพื้นที่ในเขตนี้ เพื่อน า
                   กลับมาใช้ด้านการเกษตรรวมทั้งป้องกันมิให้มีการเปิดพื้นที่ป่าเพื่อท าการเกษตรเพิ่ม

                                - ควรจัดท าแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้จากธรรมชาติหรือจากกิจกรรมของ

                   มนุษย์ เพื่อให้ป่าไม้มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติที่สมบูรณ์
                                3) เขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้เงื่อนไขเขตนี้มีเนื้อที่ 2,671 ไร่ หรือร้อยละ 2.79

                   ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันเป็นบริเวณที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกข้าว ยางพารามันส าปะหลัง
                   และอ้อย

                                - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายสูงขึ้น

                   มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัน/ไร่/ปี (หน่วยแผนที่ 1) มีเนื้อที่ 1,799 ไร่ หรือร้อยละ 1.88 ของเนื้อที่ทั้งหมดพื้นที่
                   เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกยางพาราและไม้ยืนต้น ในสภาพพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 5

                   เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีการสูญเสียดินระหว่าง 1-2 ตัน/ไร่/ปี มีระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน

                   ในระดับน้อย
                                - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายสูงขึ้น น้อย

                   กว่า 1 ตัน/ไร่/ปี (หน่วยแผนที่ 2) มีเนื้อที่ 140ไร่ หรือร้อยละ 0.15 ของเนื้อที่ทั้งหมดพื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมี
                   การใช้ที่ดินเพื่อการปลูกข้าว ยางพารา มันส าปะหลัง และอ้อย ในสภาพพื้นที่มีความลาดชัน 2-5

                   เปอร์เซ็นต์ซึ่งมีการสูญเสียดินระหว่าง 0-1 ตัน/ไร่/ปี มีระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน

                   ในระดับน้อยมาก
                                - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรควรมีการท้านา (หน่วยแผนที่ 3) มีเนื้อที่ 732 ไร่

                   หรือร้อยละ 0.76 ของเนื้อที่ทั้งหมดพื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินเพื่อการท านา ในสภาพพื้นที่มีความ
                   ลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่ในเขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

                                - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง

                   มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย เช่น
                   เขตอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี ก าหนดให้กรมป่าไม้ส ารวจพื้นที่ที่มีการ

                   ครอบครองให้ชัดเจน

                                - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เรื่อง
                   แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้

                   อย่างมีระบบโดยให้มีการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และสงวนรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรป่าไม้ที่
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120