Page 76 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 76

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          62





                    การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่ส าคัญที่ส่งผลให้ทรัพยากรที่ดินเสื่อมโทรมเนื่องจาก ท าให้

               เกิดการสูญเสียหน้าดิน การสูญเสียธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดิน ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
               ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินในการปลูกพืชอย่างเข้มข้นในรอบปี รวมทั้งในพื้นที่ที่มีการ

               ใช้เครื่องจักรกลในการไถพรวนดิน เป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้สมบัติทางกายภาพของดินโดยเฉพาะ
               โครงสร้างดินถูกท าลาย ยิ่งส่งเสริมให้เกิดการพังทลายของดินในพื้นที่ ผลจากการชะล้างพังทลายของดิน

               จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่ที่เกิดการชะล้างพังทลายของดินและพื้นที่โดยรอบ และท าให้

               ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ลดลง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ลดลง และเกิดการตื้นเขินของแม่น้ าล าคลอง
               จากมีการสะสมของตะกอนดิน ท าให้ศักยภาพในการเก็บกักน้ าของแหล่งน้ าต่ าลง ปัญหาเหล่านี้จะส่งผล

               กระทบต่อการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันการชะล้าง

               พังทลายของดิน เพื่อรักษาทรัพยากรที่ดินให้สามารถใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน การชะล้างพังทลายของดิน
               ในแต่ละพื้นที่จะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน และปัจจัยจากภายนอก

               โดยปกติแล้วการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยจะเกิดขึ้นโดยมีฝนเป็นปัจจัยหลักที่ส าคัญ แต่โดย

               ธรรมชาติแล้วจะเกิดไม่รุนแรงบนพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย และมีสิ่งปกคลุมผิวดิน หรือพื้นที่ที่มี
               ความลาดชันสูงแต่มีสิ่งปกคลุมผิวดินหนาแน่น จนเม็ดฝนไม่สามารถกระทบสู่พื้นดินได้ แต่จะเกิดรุนแรง

               มากขึ้นถ้าพื้นที่มีความลาดชันมากขึ้นและไม่มีสิ่งปกคลุมผิวดิน โดยมีกิจกรรมการใช้ที่ดินของมนุษย์เป็น
               ตัวเร่งให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น การชะล้างพังทลายของดินนอกจากมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยัง

               ส่งผลเสียทางด้านเศรษฐกิจ และจากการประเมินการสูญเสียดิน (ตัน/ไร่/ปี)
                    การประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยท่าแค อาศัยสมการการสูญเสียดินสากล

               (Universal Soil Loss Equation, USLE) (Wischmeier and Smith, 1965) ส าหรับประเมินการชะล้าง

               พังทลายของดินในพื้นที่เกษตร และเป็นการชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากการกระท าของน้ า ซึ่งปัจจัยที่
               น ามาพิจารณาในสมการได้แก่ ปริมาณน้ าฝน ความแรงของน้ าฝน ลักษณะของดิน ลักษณะของพืชคลุมดิน

               สภาพของพื้นที่และมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า ตามสมการ

                                     A = R K L S C P


                    ค่าปริมาณการสูญเสียดิน (A) ค านวณได้ต่อหน่วยพื้นที่ ซึ่งได้จากการค านวณโดยการคูณปัจจัยต่าง ๆ
               6 ปัจจัย ค่านี้เป็นการประเมินค่าเฉลี่ยรายปีของการชะล้างพังทลายของช่องว่างระหว่าง ร่องริ้ว (Inter

               rill) กับร่องริ้ว (Rill) จากพายุฝน (rain storms) ส าหรับพื้นที่ดอน (field sized upland areas) ค่านี้

               โดยทั่วไปไม่รวมการชะล้างพังทลายจากร่องลึก (gully) ริมฝั่งน้ า (stream bank) การละลายของหิมะ
               (snow melt) หรือการพังทลายจากลม แต่ค่า A นี้จะรวมตะกอนดินที่ถูกพัดพามาก่อนที่จะถึงตอนล่าง

               ของล าน้ า (downslope stream)หรือในอ่างเก็บน้ า มีหน่วยผันแปรไปตามการประเมิน (ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี)

               โดยในประเทศไทยใช้หน่วยเป็นตันต่อไร่ต่อปี
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81