Page 6 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยกระเสียว-ห้วยท่ากวย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
เมื่อพิจารณาถึงการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่ และแต่ละระดับ แม้ใน
พื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายในระดับน้อยที่มีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อ
การก าหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าซึ่งหากมีการละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตาม
หลักวิชาการอาจส่งผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณและ
คุณภาพผลผลิตลดลงอันส่งผลต่อเนื่องถึงต้นทุนในการผลิต การจัดการดิน น้ า ปุ๋ย จนส่งผลให้เกษตรกรใน
พื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้าง
พังทลายของดิน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้าง
พังทลายของดินในแต่ละวิธีการมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาความต้องการ วิธีการรักษาและป้องกัน
การชะล้างพังทลายของดิน จะเห็นว่า เกษตรกรมีความต้องการ การท าฝายน้ าล้นหรือคันชะลอความเร็ว
ของน้ าการปลูกพืชคลุมดินการยกร่องและปลูกพืชท าร่องน้ าไปตามแนวระดับการท าคันดินขวางทางลาด
เทการปลูกพืชแบบขั้นบันได (ปรับพื้นที่เป็นขั้น ๆ) และการปลูกหญ้าแฝกขวางทางลาดชันเมื่อพิจารณา
ผลกระทบด้านต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการปลูกพืช ในพื้นที่ที่มี
ระดับการชะล้างพังทลายของดินต่างกัน จะเห็นว่า ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของแต่ละพืชมี
แนวโน้มลดลง ส่วนทางกับระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่
ปลูกสับปะรด และอ้อย นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลผลิตของทุกพืชมีแนวโน้มลดลงตามความรุนแรงของการ
ชะล้างพังทลายของดิน ยกเว้นในพื้นที่ปลูกยางพารา
ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อด าเนินการ อาศัยปัจจัยหลักและเกณฑ์ที่ก าหนด ส าหรับพิจารณาจัดล าดับ
ความส าคัญ 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน (2) เอกสารสิทธิ์
(3) การใช้ที่ดิน (4) กิจกรรมที่ด าเนินงานในพื้นที่ (5) แผนปฏิบัติงานของพื้นที่ และ (6) ความต้องการของ
ชุมชน พบว่า สามารถก าหนดพื้นที่เป้าหมาย เพื่อน ามาจัดท าแผนการด าเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 10,000 ไร่ต่อปี ได้ดังนี้ ระยะที่ 1 (ปี 2565) ด าเนินงานในพื้นที่บ้านผาทั่ง
บ้านห้วยแห้ง บ้านปากกล้วย ระยะที่ 2 (ปี 2566) ด าเนินงานในพื้นที่บ้านบุงบ้านคลองอีพลู บ้านนา และ
บ้านหนองปรือ ระยะที่ 3 (ปี 2567) ด าเนินงานในพื้นที่บ้านอีพุ่งใหญ่ และบ้านใหม่ล าปาง และระยะที่ 4
(ปี 2568) ด าเนินงานในพื้นที่บ้านใหม่ร่มเย็น บ้านอีมาด และบ้านอีทราย โดยก าหนดแนวทางและ
มาตรการที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา แผนการใช้ที่ดินบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม ดังนี้
แบ่งตาม ระดับ
ความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ที่มีระดับรุนแรงมาก และระดับปานกลาง ก าหนด