Page 29 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยกระเสียว-ห้วยท่ากวย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อท าให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั้ง 2 ประเภท
ส าหรับใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
5) การจัดท าแผนที่และฐานข้อมูล สภาพการใช้ที่ดินของพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยกระเสียว - ห้วยท่ากวย
อ าเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2561
การส ารวจเก็บรวบรวบข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อประกอบการจัดท าแผนการใช้
ที่ดินและแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและความเสื่อมโทรมของดินด้วย ระบบ
อนุรักษ์ดินและน้ า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจส าคัญของพื้นที่ ได้แก่
มันส าปะหลัง อ้อย ยางพารา และสับปะรด มีขั้นตอนการด าเนินงาน ดังนี้
1) การเก็บรวมรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ส าคัญ ได้แก่ การสัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย
ข้อมูลสถิติ จากหน่วยงานต่าง ๆ โดยสามารถจัดข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ
(1) ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการส ารวจในภาคสนามด้วยวิธีการ
สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย โดยการก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางส าเร็จรูป ของTaro
Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ได้ขนาดจ านวนตัวอย่างทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง แล้วท าการสุ่ม
ตัวอย่างในการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (purposive sampling) คือ เลือกเฉพาะ เกษตรกรที่ปลูก
พืช (มันส าปะหลัง อ้อย ยางพารา และสับปะรด) ในพื้นที่เป้าหมายและใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์
เกษตรกร
(2) ข้อมูลทุติยภูมิคือข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมจากเอกสารวิชาการผลงานวิจัย รายงาน
บทความและระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการปลูก การดูแล รักษาและการเก็บ
เกี่ยว เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลส าหรับอ้างอิงและประกอบการศึกษาต่อไป
2) การวิเคราะห์ข้อมูล
การน าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้แล้วท าการตรวจสอบความถูกต้องและความ ครบถ้วนของ
ข้อมูลและประมวลผลจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (descriptive analysis)
แสดงผลเป็นค่าร้อยละ และ/หรือค่าเฉลี่ย แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
(1) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือนเกษตร ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการอนุรักษ์ดิน
และน้ าผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดินตลอดจนทัศนคติปัญหาและความต้องการความ
ช่วยเหลือจากรัฐของเกษตรกร
(2) การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิต โดยใช้ปริมาณและมูลค่าปัจจัย การผลิตที่
ส าคัญ ได้แก่ การใช้พันธุ์ การใช้ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ (ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์) การใช้สารป้องกัน และก าจัด
วัชพืช/ศัตรูพืช/โรคพืช การใช้แรงงานคนและแรงงานเครื่องจักร โดยวิเคราะห์และสรุป ข้อมูลมาเป็น
ค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่ 1 ไร่