Page 7 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                   การใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และหากมีการละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตาม

                   หลักวิชาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการสูญเสียดิน ปริมาณและคุณภาพผลผลิต
                   และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ า ปุ๋ย จนส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม

                   สูงขึ้นตามไปด้วย




                           จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้าง

                   พังทลายของดิน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้างพังทลาย
                   ของดินในแต่ละวิธีการมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาความต้องการ วิธีการรักษาและป้องกันการชะล้าง

                   พังทลายของดิน จะเห็นว่า เกษตรกรมีความต้องการ การท าฝายน้ าล้น หรือคันชะลอความเร็วของน้ า การ

                   ขุดลอกล าน้ า การท าระบบส่งน้ า การยกร่อง และการปลูกแฝกเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน เมื่อ
                   พิจารณาผลกระทบด้านต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการปลูกพืชใน

                   พื้นที่ที่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินต่างกัน จะเห็นว่า ต้นทุนการผลิตของแต่ละพืช มีแนวโน้มสูงขึ้น

                   ตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกไม้ผลผสม ซึ่ง
                   ต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนผันแปรในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์

                   ค่าปุ๋ย นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลผลิตของทุกพืชลดลงตามความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน

                   โดยเฉพาะไม้ผล และยางพารา




                      ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อด าเนินการ โดยอาศัยปัจจัยหลักและเกณฑ์ที่ก าหนด ส าหรับพิจารณาจัดล าดับ

                   ความส าคัญมี 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน (2) เอกสารสิทธิ์
                   (3) การใช้ที่ดิน (4) กิจกรรมที่ด าเนินงานในพื้นที่ (5) แผนปฏิบัติงานของพื้นที่ (6) ความต้องการของชุมชน

                   พบว่า ในแต่ละสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การด าเนินงานสอดคล้อง

                   กับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของชุมชน สามารถน ามาจัดท าแผนการด าเนินงานแบ่ง
                   ออกเป็น 4 ระยะ โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 10,000 ไร่ต่อปี ได้แก่ ระยะที่ 1 (ปี 2564) ด าเนินงานใน

                   พื้นที่ หมู่ 2 บ้านช้างทูน หมู่ 3 บ้านหนองแฟบ หมู่ 4 บ้านหนองมาตร หมู่ 5 บ้านหนองไม้หอม ต าบลช้าง

                   ทูน ระยะที่ 2 (ปี 2565) ด าเนินงานในพื้นที่ หมู่ 1 บ้านหนองบอน หมู่ 2 บ้านตรอกเกสร ต าบลหนองบอน
                   ระยะที่ 3 (ปี 2566) ด าเนินงานในพื้นที่ หมู่ 1 บ้านมะนาว ต าบลบ่อพลอย และ หมู่ 1 บ้านคลองขวาง

                   ต าบลช้างทูน และระยะที่ 4 (ปี 2567) ด าเนินงานในพื้นที่หมู่ 3 บ้านเนินพัฒนา หมู่ 4 บ้านคอแล และ

                   หมู่5 บ้านมะอึกแรด ต าบลหนองบอน โดยก าหนดแนวทางและมาตรการที่มีความสอดคล้องกับสภาพ
                   ปัญหา แผนการใช้ที่ดินบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม ดังนี้



                   แบ่งตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ที่มีระดับรุนแรงมาก และระดับปาน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12