Page 48 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          30






                     จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินระดับชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 ในพื้นที่ลุ่มน้ า

               คลองแอ่ง ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุม 84,890 ไร่ สามารถจ าแนกเป็นหน่วยแผนที่ดินได้ 18 หน่วยแผนที่ (ตารางที่ 3-3

               และภาพที่ 3-4) ประกอบด้วย ระดับหน่วยจ าแนก มี 8 ชุดดิน ( 17 หน่วยแผนที่) ดินคล้าย 1 ดิน (1หน่วยแผน
               ที่) คิดเป็นร้อยละ 58.4 ของเนื้อที่ทั้งหมด (รายละเอียดชุดดินตามภาคผนวกที่1) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (SC) มี 1

               หน่วยแผนที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณขอบเขตด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ของพื้นที่ลุ่มน้ า

               คิดเป็นร้อยละ 41.17 ของเนื้อที่ทั้งหมด และพื้นที่น้ า (W) 1 หน่วยแผนที่ คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของเนื้อที่ทั้งหมด
                     โดยเมื่อพิจารณาตามการกระจายตัวของดิน ลักษณะดินและสภาพพื้นที่ที่พบจะเห็นว่า ชุดดินที่มี

               การกระจายตัวมากที่สุด คือ ชุดดินคลองชาก (Kc) มีเนื้อที่ร้อยละ 18.90 ของเนื้อที่ทั้งหมด กระจาย
               ครอบคลุมในพื้นที่ต าบลหนองบอน ต าบลช้างทูน และต าบลบ่อพลอย ลักษณะดินเป็นดินเหนียวตื้นถึงชั้น

               ลูกรังหนาแน่น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนกรวดลูกรัง ดินล่างเป็นดินร่วน
               เหนียวปนกรวดลูกรังหรือดินเหนียวปนกรวดลูกรัง พบในสภาพพื้นที่แบบค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน

               นอกจากนี้ ยังพบการกระจายตัวของชุดดินหนองบอน (Nb) ชุดดินห้วยยอด (Ho) และชุดดิน

               โป่งน้ าร้อน (Pon) มีเนื้อที่ร้อยละ 15.82 7.59 และ 0.90 ตามล าดับ ดินมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด
               การชะล้างพังทลาย โดยเฉพาะดินที่มีลักษณะเนื้อดินบนและดินล่างต่างกัน ดินตื้น และมีความลาดชันสูง

               (สภาพพื้นที่ลอนชันและพื้นที่เนินเขา ความลาดชัน 12-35 เปอร์เซ็นต์) ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า

               ที่เหมาะสม เช่น การท าคันดินกั้นน้ า ท าขั้นบันได และปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดชันของพื้นที่
               เพื่อชะลอความเร็วของน้ าที่ไหลบ่าผ่านผิวดิน ช่วยลดการชะล้างของหน้าดิน และน้ าซึมผ่านลงไปในดินชั้น

               ล่างได้มากขึ้น ท าให้ความชื้นในดินมากขึ้น นอกจากนี้ ควรปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นของดิน

               ไว้และยังช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินได้อีกด้วย
                     เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านลักษณะของดินที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งดินแต่ละชนิดจะ

               ทนต่อการชะล้างพังทลายที่แตกต่างกันในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะค่าปัจจัยความคงทน
               ของดิน (K-factor) ที่สามารถน าไปประเมินการสูญเสียดินในสมการการสูญเสียดินสากล (USLE) จะเห็น

               ว่าปัจจัยสมบัติดินที่มีผลต่อค่าปัจจัยความคงทนของดิน ได้แก่ (1) ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้ง

               และปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก (% silt + % very fine sand) (2) ปริมาณร้อยละของทราย
               (%sand) (3) ปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดิน (% organic matter) (4) โครงสร้างของดิน

               (soil structure) และ (5) การซาบซึมน้ าของดิน (permeability) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) จากการศึกษา
               ค่าปัจจัยความคงทนของดินต่อการชะล้างพังทะลาย (K-factor) ตามชนิดวัตถุต้นก าเนิดดินในพื้นที่สูงของ

               ลุ่มน้ าตราดพบว่า ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้งและปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมากมีค่าสูง

               ส่งผลให้ค่า K-factor สูง และปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดินสูงส่งผลให้ค่า K-factor ต่ า และยัง
               พบว่าดินในกลุ่มวัตถุต้นก าเนิดดินพวกหินตะกอนเนื้อหยาบมีแนวโน้มให้ค่า K-factor มากที่สุด และดินใน

               กลุ่มวัตถุต้นก าเนิดดินพวกหินอัคนีสีเข้มมีค่า K-factor น้อยที่สุด (กองส ารวจและจ าแนกดิน, 2543)

               จากลักษณะและสมบัติดินดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ดินที่มีค่า K-factor สูง (ง่ายต่อการกร่อน) จะมีแนวโน้มเกิด
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53