Page 46 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          28






                     พื้นที่ลุ่มน้ าคลองแอ่ง อ าเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด อยู่ในพื้นที่ตอนบนจังหวัดตราด มีลักษณะแบบ

               ร้อนชื้นมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุม

               ตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวเทือกเขาบรรทัดเป็นแนวปะทะท าให้มีฝนตกชุก ทั้งยังต้านลมพายุที่พัดมาจาก
               ด้านทิศตะวันออกของประเทศ ส่งผลให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ได้แก่ ฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน -

               เดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน และฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม -

               เดือนตุลาคม
                     จากข้อมุลอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่สถานีตรวจอากาศ อ าเภอเมือง จังหวัดตราด โดยแบ่ง

               รายละเอียดของลักษณะภูมิอากาศของสถานีตรวจอากาศ ช่วง 30 ปี (พ.ศ.2533-2562) ได้ดังนี้ (ตารางที่ 3-2)
                     1) อุณหภูมิ

                        จังหวัดตราด มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.5 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยตลอดปี
               31.9 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 33.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย

               ตลอดปี 23.7 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิต่ าสุดในเดือนมกราคม 22.2 องศาเซลเซียส

                     2) ปริมาณน้ าฝน
                        จังหวัดตราด มีปริมาณน้ าฝนรวมตลอดปี 4,906.5 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ าฝนสูงสุดในเดือน

               กรกฎาคม 1,033.5 มิลลิเมตร และปริมาณน้ าฝนต่ าสุดในเดือนธันวาคม 27.7 มิลลิเมตร

                     3) ปริมาณน้ าฝนใช้การได้ (Effective Rainfall : ER)
                        ปริมาณน้ าฝนใช้การได้ คือ ปริมาณน้ าฝนที่เหลืออยู่ในดิน ซึ่งพืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้

               ภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวด้วยน้ าแล้วไหลบ่าออกมากักเก็บในพื้นดิน

                        จังหวัดตราด มีปริมาณน้ าฝนใช้การได้รวมตลอดปี 1,633.9 มิลลิเมตร โดยในเดือนกรกฎาคมมี
               ปริมาณน้ าฝนใช้การได้มากที่สุด 225.0 มิลลิเมตร และเดือนธันวาคมปริมาณน้ าฝนใช้การได้น้อยที่สุด 26.5

               มิลลิเมตร
                     4) ความชื้นสัมพัทธ์และศักยภาพการคายระเหยน้ า

                        จังหวัดตราด พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 80.8 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความชื้นสัมพัทธ์

               สูงสุดในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 87.0 เปอร์เซ็นต์ และต่ าสุดในเดือนธันวาคม 70.0 เปอร์เซ็นต์
               ส่วนปริมาณการคายระเหยเฉลี่ยตลอดปี 736.8 มิลลิเมตร ปริมาณการคายระเหยสูงสุด 68.8 มิลลิเมตร

               ในเดือนพฤษภาคม และปริมาณการคายระเหยต่ าสุด 53.2 ในเดือนกุมภาพันธ์
                     5) การวิเคราะห์ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมส าหรับปลูกพืช

                        จากการวิเคราะห์สถานการณ์สมดุลของน้ า เพื่อการเกษตรด้วยข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ าฝนเฉลี่ย

               รายเดือน และค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าเฉลี่ยรายเดือน (Evapotranspiration : ETo) ซึ่งค านวณโดยใช้
               โปรแกรม Cropwat for Windows Version 8.0 โดยพิจารณาจากช่วงระยะที่น้ าฝนอยู่ที่เหนือระดับเส้น

               0.5 ของค่าศักยภาพการคายระเหยน้ า (0.5 ETo) เป็นหลัก (ภาพที่ 3.3) พบว่า จังหวัดตราดสามารถปลูก

               พืชได้ตลอดทั้งปี
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51