Page 28 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          12



                              - การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลดิน ข้อมูลทางธรณีวิทยา ข้อมูลสภาพภูมิ

               ประเทศ ร่วมกับการแปลข้อมูลในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข เพื่อให้ทราบถึงสภาพพื้นที่และวิเคราะห์
               พื้นที่ เพื่ออนุมานลักษณะและสมบัติของดินเบื้องต้นในพื้นที่ศึกษา

                              - การศึกษาลักษณะสมบัติดินเพื่อใช้ในการจ าแนกดิน เช่น ความหนาของชั้นดิน เนื้อดิน

               สีดิน โครงสร้างของดิน การจัดเรียงตัวของชั้นดิน การยึดตัวของอนุภาคดิน การเคลื่อนย้ายของอนุภาคดิน
               เหนียว ปริมาณการกระจายของรากพืช ค่าปฏิกิริยาดิน ชนิดของชิ้นส่วนหยาบในดิน หรือวัตถุต่างๆ ที่พบ

               ในชั้นดิน เช่น ก้อนกรวด ลูกรังและเศษหิน เป็นต้น
                              - การจ าแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Survey Staff, 2014) ในระดับประเภท

               ของชุดดินและดินคล้าย (phases of soil series or soil variants) เขียนหน่วยแผนที่ดินลงในภาพถ่าย

               ออร์โธสี พร้อมทั้งปรับแก้ไขขอบเขตของดินในภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง
                              - การจัดท าแผนที่ดิน และสรุปหน่วยแผนที่ทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองแอ่ง ในมาตรา

               ส่วน 1 : 25,000

                           2) ข้อมูลทรัพยากรดินปัญหา
                              การจัดท าข้อมูลและแผนที่ดินปัญหาหรือสภาพปัญหาดินทางการเกษตร มาตราส่วน

               1 : 25,000 ในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองแอ่ง ตามขั้นตอน ดังนี้

                              (1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลดินเพื่อการจ าแนกตามลักษณะและสมบัติดินประจ าชุด
               ดิน จ าแนกประเภทและความรุนแรงของดินปัญหาต่อการผลิตพืช ตามปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติ

               และจากการใช้ที่ดิน รวมถึงดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็นข้อจ ากัดทางการเกษตร

                              (2) การจัดท าแผนที่ดินปัญหาและประเมินความรุนแรงของดินปัญหาในพื้นที่ด าเนินการ
               เพื่อน าไปใช้ในแก้ไข ฟื้นฟู และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รวมถึงก าหนดมาตรการด้านการ

               อนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อการใช้ที่ดินทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน




                           การประเมินสถานภาพทรัพยากรน้ า ส าหรับน าไปใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของ

               ดิน จัดท าแผนการใช้ที่ดิน ก าหนดมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ า การ
               ประเมินปริมาณน้ าผิวดินที่ไหลจากพื้นผิวดินสู่ร่องน้ า ล าห้วย คลองและแม่น้ า โดยอาศัยการค านวณจาก

               ปริมาณน้ าฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่หนึ่ง ๆ แล้วถูกดูดซับลงไปเก็บกักไว้ในดิน และระเหยไปในอากาศ น้ าที่

               เหลือจากกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ จะไหลลงสู่ร่องน้ า ล าห้วย คลองและแม่น้ าต่อไป อัตราการไหลและ
               ปริมาณน้ าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรง ปริมาณน้ า ทิศทางลม ลักษณะความลาดเทของ

               พื้นที่ ประสิทธิภาพการเก็บกักน้ าบนผิวดิน การใช้ที่ดิน  สมบัติของดิน และขนาดของพื้นที่รับน้ า ทั้งนี้

               เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่สอดคล้องกับหลักการส าคัญของการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เป็นการรักษาความชุ่มชื้นใน
               ดิน การเก็บกักน้ าไหลบ่าบนผิวดินไว้ใช้ในพื้นที่ที่เพื่อประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของพื้นที่บริเวณนั้น ๆ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33