Page 95 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 95

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             69



                               2) ระดับความรุนแรงปานกลาง (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) ให้ผลผลิต เฉลี่ยไร่ละ 233.00 กิโลกรัม

                   ราคาผลผลิต เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.20 บาท มูลค่าผลผลิตทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 7,180.60 บาท ต้นทุนการ
                   ผลิตทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 5,953.57 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 1.21 ผลตอบแทนเหนือ

                   ต้นทุนทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 2,227.03 บาท

                               3) ระดับความรุนแรง (5 - 15 ตันต่อไร่ต่อปี) ให้ผลผลิต เฉลี่ยไร่ละ 205.00 กิโลกรัม ราคา
                   ผลผลิต เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.20 บาท มูลค่าผลผลิตทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 6,601.00 บาท ต้นทุนการผลิต

                   ทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 5,958.80 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 1.11 ผลตอบแทนเหนือ
                   ต้นทุนทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 642.20 บาท

                               4) ระดับความรุนแรงมาก (15 - 20 ตันต่อไร่ต่อปี) ให้ผลผลิต เฉลี่ยไร่ละ 193.71 กิโลกรัม

                   ราคาผลผลิต เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.20 บาท มูลค่าผลผลิตทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 6,237.46 บาท ต้นทุนการ
                   ผลิตทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 6,209.25 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 1.00 ผลตอบแทนเหนือ

                   ต้นทุนทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 28.21 บาท
                               5) ระดับความรุนแรงมากที่สุด (มากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี) ให้ผลผลิต เฉลี่ยไร่ละ 175.40

                   กิโลกรัม ราคาผลผลิต เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.20 บาท มูลค่าผลผลิตทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 5,647.88 บาท

                   ต้นทุนการผลิตทั้งหมด เฉลี่ยไร่ละ 5,842.09 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด 0.97
                   ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน เฉลี่ยไร่ละ 194.21 บาท

                               เมื่อพิจารณาในภาพรวมของผลผลิต ต้นทุน ผลตอบแทนของยางพารา พบว่า ผลผลิตลดลง

                   เมื่อระดับความรุนแรงการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มขึ้น และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดลดลง เมื่อ
                   ระดับความรุนแรงการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

                               ผลจากการเกิดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยเฉพาะ
                   ผลผลิต ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนของการปลูกพืชในพื้นที่มีการชะล้างพังทลายของดิน เห็นว่า โดย

                   ภาพรวมของต้นทุนต่อหน่วยผลิตในแต่ละระดับยังขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกรแต่ละราย เช่น การใช้

                   ปัจจัยการผลิต การดูแลรักษา และบางพื้นที่ในช่วงฤดูฝนน้ำท่วม ทำให้ผลผลิตลดลง ถ้าหากเกษตรกรไม่มีการ
                   จัดการที่ดีพอ

                               เมื่อพิจารณาผลจากการเกิดชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เพาะปลูกพืช โดยเฉพาะผลผลิต
                   ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนของการปลูกพืชในพื้นที่มีระดับการชะล้างพังทลายต่างกัน จะเห็นว่า โดย

                   ภาพรวมของต้นทุนการผลิตพืชมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อปลูกในพื้นที่มีระดับความรุนแรงของการชะล้าง

                   พังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลทำให้ต้นทุนผัน
                   แปรในการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างแรงงานเก็บผลผลิตปาล์มน้ำมัน ค่ากรีดยางพารา นอกจากนี้ ผลผลิต

                   ของพืชมีปริมาณลดลงตามระดับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของการชะล้างพังทลายของดิน ส่งผลให้แนวโน้ม

                   ของผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดลดลง (ตารางที่ 3-14)









                                    แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100