Page 112 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 112

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          86



                           - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายปานกลาง

               (หน่วยแผนที่ 1232) มีเนื้อที่ 2,314 ไร่ หรือร้อยละ 1.56 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้
               ที่ดิน เพื่อการปลูกไม้ยืนต้น ในสภาพพื้นที่มีความลาดชัน 12-35 เปอร์เซ็นต์ และเป็นบริเวณซึ่งมีความ

               เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายในระดับปานกลางถึงรุนแรง

                           - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายต่ำ (หน่วย
               แผนที่ 1233) มีเนื้อที่ 2,597 ไร่ หรือร้อยละ 1.75 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินเพื่อ

               การปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ในสภาพพื้นที่มีความลาดชันต่ำกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ และเป็นบริเวณซึ่ง
               มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายในระดับน้อยถึงปานกลาง





                     มีเนื้อที่ประมาณ 108,449 ไร่ หรือร้อยละ 73.14 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้อยู่นอกเขตที่มี

               การประกาศเป็นเขตป่าไม้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นพื้นที่ทำกินมีการออกเอกสารสิทธิ์ (โฉนด ส.ป.ก. คทช.)
               และจากการพิจารณาสามารถแบ่งพื้นที่ตามความเหมาะสมของที่ดินและศักยภาพของพื้นที่ได้เป็น 7 เขต

               ย่อย ดังนี้







                         มีเนื้อที่ประมาณ 825 ไร่ หรือร้อยละ 0.56 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้มีการใช้ประโยชน์
               ที่ดินเพื่อการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้น ในสภาพพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ มีข้อเสนอแนะ

               ในการใช้พื้นที่เขตฟื้นฟูสภาพพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อการรักษาระบบนิเวศต้นน้ำ ดังนี้

                         - ภาครัฐควรกำหนดเป้าหมายในการควบคุมการใช้พื้นที่ในเขตดังกล่าวรวมถึงรณรงค์ให้มีการ
               ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกป่าหรือระบบวนเกษตร และส่งเสริมมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม

               กับสภาพพื้นที่

                         - ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยและสารปราบศัตรูพืชที่เป็นชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี เนื่องจาก
               สารเคมีจะตกค้างในดินและแหล่งน้ำ ทำให้ส่งผลต่อระบบนิเวศของพื้นที่ปลายน้ำ







                           มีเนื้อที่ประมาณ 1,805 ไร่ หรือร้อยละ 1.22 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้มีการใช้ที่ดินเพื่อการ
               ปลูกยางพารา ในสภาพพื้นที่มีความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์ มีข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่เขตพื้นที่

               เกษตรกรรมที่ต้องเร่งรัดดำเนินการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ดังนี้

                           - ในบริเวณพื้นที่มีความลาดชันสูง และเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย ควรจัดทำระบบอนุรักษ์
               ดินและน้ำ เช่น การปลูกไม้ยืนต้นร่วมกับหญ้าแฝกขวางความลาดเทบนแนวคันดิน ทำอาคารชะลอ

               ความเร็วน้ำร่วมกับการใช้หญ้าแฝก ฝายชะลอน้ำ คันดินเบนน้ำ คูรับน้ำรอบขอบเขา เพื่อป้องกันการชะ






                                แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117