Page 111 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 111

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             85



                   และความมั่นคงของชาติ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี โดยไม่รวมพื้นที่ปฏิรูปที่ดินที่ได้มีการ

                   ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาแล้ว เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการสำรวจสภาพการใช้ที่ดิน สามารถจำแนก
                   ออกเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ พื้นที่ป่าเสื่อมรอสภาพฟื้นฟู และพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร ซึ่งเป็น

                   พื้นที่รอการพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541

                                1) เขตบำรุงรักษาป่า (หน่วยแผนที่ 121) เขตนี้มีเนื้อที่ 2,208 ไร่ หรือร้อยละ 1.49 ของ
                   เนื้อที่ทั้งหมด สภาพพื้นที่ปัจจุบันมีลักษณะเป็นป่าสมบูรณ์

                                ข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่ในเขตบำรุงรักษาป่า
                                - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง

                   มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ โดยให้กรมป่าไม้สำรวจพื้นที่ที่มีการครอบครองให้ชัดเจน

                                - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เรื่อง
                   แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้

                   อย่างมีระบบโดยให้มีการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และสงวนรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรป่าไม้ที่
                   เหลืออยู่รวมถึงฟื้นฟูป่าที่เสื่อมสภาพ โดยต้องอยู่บนหลักในการลดปัญหาความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรใน

                   พื้นที่

                              - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มมาตรการจัดการป่าไม้และจัดการป่าชุมชนแบบผสมผสาน
                   เพื่อให้ป่าคงอยู่และสามารถใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน

                              - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือ

                   จากกิจกรรมของมนุษย์
                              - รณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและบำรุงรักษาผืนป่าในพื้นที่ร่วมกัน

                              2) เขตฟื้นฟูทรัพยากรป่าตามธรรมชาติ (หน่วยแผนที่ 122) เขตนี้มีเนื้อที่ 23 ไร่ หรือร้อยละ
                   0.02 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันมีสภาพเป็นพื้นที่ป่ารอสภาพฟื้นฟูมีข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่

                   ในเขตฟื้นฟูสภาพป่าธรรมชาติ ดังนี้

                              - กำหนดมาตรการและแนวทางในการป้องกันมิให้ราษฎรบุกรุกพื้นที่ในเขตนี้ เพื่อนำกลับมา
                   ใช้ด้านการเกษตรรวมทั้งป้องกันมิให้มีการเปิดพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรเพิ่ม

                              - ควรจัดทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้จากธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมของ
                   มนุษย์ เพื่อให้ป่าไม้มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติที่สมบูรณ์

                              3) เขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้เงื่อนไข เขตนี้มีเนื้อที่ 27,783 ไร่ หรือร้อยละ

                   13.34 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันเป็นบริเวณที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกยางพารา และปาล์ม
                   น้ำมัน

                              - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายสูง (หน่วย

                   แผนที่ 1231) เขตนี้มีเนื้อที่ 2,446 ไร่ หรือร้อยละ 1.65 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้
                   ที่ดินเพื่อการปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ซึ่งดินเป็นดินลึกในสภาพพื้นที่มีความลาดชัน 35-50

                   เปอร์เซ็นต์ และเป็นบริเวณซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด





                                    แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116