Page 109 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองลาว อำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
P. 109

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             83



                   ท่วม และการพังทลายของดิน หรือเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่าและหา

                   ยาก ตลอดจนรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการสำรวจสภาพการใช้ที่ดิน
                   สามารถจำแนกออกเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ พื้นที่ป่ารอสภาพฟื้นฟู และพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์เพื่อ

                   การเกษตร ซึ่งเป็นพื้นที่รอการพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541

                             1) เขตคุ้มครองสภาพป่า (หน่วยแผนที่ 111) เขตนี้มีเนื้อที่ 13,143 ไร่ หรือร้อยละ 8.86
                   ของเนื้อที่ทั้งหมด สภาพพื้นที่ปัจจุบันมีลักษณะเป็นป่าสมบูรณ์

                                ข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่ในเขตคุ้มครองสภาพป่า
                                จากการที่รัฐบาลมีนโยบายที่เด่นชัดในการรักษาพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นป่า

                   สมบูรณ์ให้คงสภาพอยู่ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศภายในพื้นที่ลุ่มน้ำ ดังนั้นในการใช้พื้นที่

                   ดังกล่าวจึงควรดำเนินการ ดังนี้
                                - ควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าตามธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น

                                - ควรมีการบำรุงรักษาสภาพป่าธรรมชาติตามหลักวิชาการ
                                - ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าให้มีประสิทธิภาพและมี

                   การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดำเนินการกับผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด

                                - ถ้าบริเวณนี้มีการบุกรุกพื้นที่ในภายหลัง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ควรรีบดำเนินการ
                   ปลูกป่าทดแทนโดยเร็ว และป้องกันการบุกรุกเพิ่ม

                                - ควรส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียงเห็นคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ และมี

                   ส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้
                             2) เขตฟื้นฟูทรัพยากรป่าตามธรรมชาติ (หน่วยแผนที่ 112) เขตนี้มีเนื้อที่ 1,344 ไร่ หรือ

                   ร้อยละ 0.91 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันมีสภาพเป็นพื้นที่ป่ารอสภาพฟื้นฟู และบางบริเวณมี
                   การใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร ได้แก่ บริเวณที่มีการปลูกพืชไร่ ไร่หมุนเวียน ในสภาพพื้นที่มีความลาดชัน

                   มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่มีการใช้พื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่ ป่ารอสภาพฟื้นฟู และไร่หมุนเวียน

                                ข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่ในเขตฟื้นฟูสภาพป่าธรรมชาติ
                                - กำหนดมาตรการและแนวทางในการป้องกันมิให้ราษฎรบุกรุกพื้นที่ในเขตนี้ เพื่อนำ

                   กลับมาใช้ด้านการเกษตรรวมทั้งป้องกันมิให้มีการเปิดพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรเพิ่ม
                                - ควรจัดทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้จากธรรมชาติหรือจากกิจกรรมของ

                   มนุษย์ เพื่อให้ป่าไม้มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติที่สมบูรณ์

                             3) เขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้เงื่อนไข เขตนี้มีเนื้อที่ 7,377 ไร่ หรือร้อยละ 4.98
                   ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้ปัจจุบันเป็นบริเวณที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกยางพาราและไม้ผล

                                - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายสูง (หน่วย

                   แผนที่ 1131) เขตนี้มีเนื้อที่ 5,183 ไร่ หรือร้อยละ 3.50 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้
                   ที่ดินปลูกยางพาราและไม้ผล ซึ่งดินเป็นดินลึกในสภาพพื้นที่มีความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์ และเป็น

                   บริเวณซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด





                                    แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน ้า ลุ่มน ้าคลองลาว
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114