Page 97 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 97

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






              Kastanozems










              ลักษณะที่ใช้จำาแนกดิน (Definition)


                       กลุ่มดิน Kastanozems เป็นดินที่มีชั้นวินิฉัย mollic และ calcic หรือชั้นที่มีสมบัติ protocalcic ภายใน
              ความลึกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 เซนติเมตร (สีดินเมื่อชื้นมีค่า chroma มากกว่า 2 ที่ความลึกมากกว่า 20 เซนติเมตร

              มีการสะสมคาร์บอเนตทุติยภูมิ ภายในความลึก 100 เซนติเมตร อาจพบชั้นวินิจฉัย argic cambic gypsic
              หรือ vertic



              การแจกกระจาย (Distribution)


                       กลุ่มดิน Kastanozems มีพื้นที่ประมาณ 2,550 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่พบบริเวณตอนใต้ของยูเครน
              ตอนใต้ของรัสเซีย คาซัคสถาน มองโกเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ตอนเหนือของอาร์เจนตินา ปารากวัย

              และตอนใต้ของโบลิเวีย
                       ในประเทศไทยพบกลุ่มดิน Kastanozems เนื้อที่ประมาณ 3.7 ล้านไร่ แจกกระจายอยู่ทั่วไปในเขต

              เทือกเขาตอนกลาง และแถบภาคตะวันตกของประเทศไทย บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี
              และกาญจนบุรี รองลงมาจะพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และพบเล็กน้อยในภาคตะวันออกตอนบน

              ตามลำาดับ


              การกำาเนิด (Formation)


                       กลุ่มดิน Kastanozems เกิดในสภาพแวดล้อมที่เป็นทุ่งหญ้า ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นอินทรียวัตถุอยู่ในดิน

              ทำาให้ดินมีสีนำ้าตาลคลำ้า มีชั้นวินิจฉัย mollic มีสีนำ้าตาล โดยกระบวนการนี้เรียกว่า melanization มีปริมาณ
              organic matter ร้อยละ 2-4 พบการสะสมคาร์บอเนตทุติยภูมิ หรือมวลสารพอกของสารประกอบคาร์บอเนต

              ในบริเวณตอนกลางของหน้าตัดดิน แต่พบที่ความลึกตื้นกว่ากลุ่มดิน Chernozems





















                                                                                                        93
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102