Page 92 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 92

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



            ลักษณะของหน้าตัดดิน (Profile features)


                     ลักษณะวินิจฉัยของ Histosols เป็นกลุ่มดินที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ เรียกกันว่า ดินสนุ่น

            (bogs หรือ bog soils) ดินที่ชื้นแฉะ (moors) หรือดินพีทและมัก (peat and muck soils) ดินนี้บางชนิดจะเป็น
            ชั้นตื้นๆ ของอินทรียสารวางตัวอยู่บนเศษหินโดยตรงหรือเป็นดินลึกก็ได้ เป็นดินที่มีความจุในการอุ้มนำ้าสูง สามารถ

            หดตัวได้สูงเมื่อแห้ง มีความหนาแน่นรวมตำ่าและมีความพรุนสูง


            สภาพแวดล้อมและภูมิสัณฐาน (Environment and landforms)


                     กลุ่มดิน Histosols มักพบในบริเวณที่มีการอิ่มตัวด้วยนำ้า เกิดได้ทุกสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปจะพบใน

            สภาพที่เป็นแอ่งตำ่าปิด มีระดับนำ้าใต้ดินตื้น มีนำ้าขังตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา ทำาให้มีการสะสมวัสดุอินทรีย์
            ได้ง่าย รวมถึงบริเวณที่เป็นพรุชายฝั่งทะเล และสามารถที่จะเกิดในแอ่งตำ่าของบริเวณที่สูง หรือตามแนวนำ้าซับ

            ของบริเวณที่มีความชันในบริเวณที่มีอากาศไม่ร้อนจนเกินไป มีสภาพไร้ออกซิเจน (anaerobic condition)
            และมีความชื้นสูง ทำาให้มีการสะสมของเศษซากพืชได้ง่าย



            การใช้ประโยชน์และการจัดการ (Use and management)


                     พื้นที่พรุหรือบริเวณที่เป็นดินในกลุ่ม Histosols ได้มีการเปิดใช้มาบ้างแล้วในอดีต โดยเฉพาะบริเวณ
            ขอบของพื้นที่พรุ และบริเวณที่มีชั้นอินทรียวัตถุไม่หนาจนเกินไป มีการระบายนำ้าออกจากบริเวณ และทำาการปลูกพืช

            โดยทั่วไปแล้วในสภาพธรรมชาติ กลุ่มดิน Histosols จะไม่เหมาะต่อการผลิตพืชเศรษฐกิจมากนัก และไม่จัดว่า
            เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรในระดับการจัดการดินและพืชปกติ ปัญหาการใช้ที่ดินทางการเกษตรจะเกี่ยวข้อง

            กับสภาพนำ้าท่วมขัง สมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของดิน การเลือกพื้นที่บริเวณที่จะพัฒนาเพื่อใช้ทำาการเกษตร
            ควรมีชั้นดินอินทรีย์หนาไม่เกิน 1 เมตร ระดับนำ้าใต้ดินประมาณ 30 เซนติเมตร การควบคุมระดับนำ้า จะต้อง

            ดำาเนินการทั้งการป้องกันนำ้าท่วมและการระบายนำ้าออกจากพื้นที่พรุ บริเวณที่ยังมีป่าสมบูรณ์ควรสงวนไว้เพื่อช่วย
            ในการอนุรักษ์ดินและนำ้า การเลือกชนิดพืชควรศึกษาอย่างละเอียดร่วมกับเทคโนโลยีปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว

            การใส่ปูนจัดว่าเป็นสิ่งสำาคัญเพื่อลดความเป็นกรดของดิน




























                                                                                                      88
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97