Page 98 - กลุ่มดินตามระบบฐานอ้างอิง ทรัพยากรดินของโลก (WRB) สำหรับทรัพยากรดินของประเทศไทย World Reference Base for Soil Resources of Thailand
P. 98

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



































            ลักษณะของหน้าตัดดิน (Profile features)


                     เป็นดินลึกปานกลาง มีการชะละลายเล็กน้อย พบชั้นดินวินิจฉัย mollic
            ที่มีสีนำ้าตาล มีความหนาปานกลาง ดินล่างอาจเป็นชั้นวินิจฉัย cambic หรือ argic

            ซึ่งมีคาร์บอเนตทุติยภูมิ (protocalcic properties หรือ calcic horizon) ในบาง
            กรณีอาจพบยิปซัมทุติยภูมิ



            สภาพแวดล้อมและภูมิสัณฐาน (Environment and landforms)


                     กลุ่มดิน Kastanozems พบในพื้นที่มีความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศในฤดูร้อนและฤดูหนาว ในสภาพ
            ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาดของทุ่งหญ้า steppe และ prairie รวมไปถึงพื้นที่ที่มีวัตถุต้นกำาเนิด

            ที่เกี่ยวข้องกับหินหรือตะกอนที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตหรือมียิปซัมเป็นองค์ประกอบ ในเขตที่เป็นเชิงเขาในระดับต่างๆ
            ตั้งแต่เชิงเขาตอนกลาง และเชิงเขาตอนล่างในเขตหินหรือตะกอนดังกล่าว



            การใช้ประโยชน์และการจัดการ (Use and management)


                     พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสมในการปลูกหญ้า หากมีการจัดการนำ้าที่เหมาะสม กลุ่มดินนี้จะสามารถให้ผลผลิตสูง
            เหมาะสำาหรับปลูกพืชอาหารสัตว์และพืชผัก ข้อจำากัดของกลุ่มดินนี้คือ สูญเสียความชื้นดินได้ง่าย หากมีการจัดการนำ้า

            ที่ไม่เหมาะสม ดินจะเสี่ยงต่อการกร่อน














                                                                                                      94
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103