Page 93 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 93

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        83








                                      ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกและภาคใต้มีลักษณะคล้ายกัน ประกอบด้วย ที่ราบ
                   ชายฝั่งทะเลน้ าทะเลเข้าถึงและปกคลุมไปด้วยป่าชายเลนและป่าโกงกาง ที่ราบแม่น้ า ตะพักล าน้ า พื้นที่ลูกคลื่นทั้ง
                   แบบลอนลาดและลอนชัน เนินเขา และเทือกเขา มีแม่น้ าขนาดสั้นหลายสายไหลผ่านพื้นที่ อีกทั้งมีสภาพ
                   ภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะปริมาณฝนที่ค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ จึงท าให้ทรัพยากรดินเกิด
                   ความเสี่ยงต่อการถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย รวมทั้งได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ าท่วมฉับพลัน น้ าป่าไหลหลาก
                   และดินถล่มตามมา
                                   ในสภาพพื้นที่ลูกคลื่นทั้งแบบลอนลาดและลอนชัน เนินเขา และเทือกเขา ส่งเสริมให้เกิด

                   การชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ประกอบกับบางพื้นที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อท าการเกษตรโดยขาดการ
                   อนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม ยิ่งส่งผลให้เกิดการชะล้างพังทลายที่รุนแรงเพิ่มขึ้นจนเกิดดินถล่ม ส่งผลกระทบ
                   ในวงกว้าง  ตะกอนดินไหลลงสู่แหล่งน้ า และแม่น้ า ท าให้แหล่งน้ าตื้นเขินจนไม่สามารถรับน้ าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   อีกทั้ง ในพื้นที่ที่ราบชายฝั่งทะเลที่ขาดป้องกันการชะล้างพังทลายของดินที่เหมาะสมท าให้ผิวหน้าดินถูกกัดเซาะ
                   พังทลายได้ง่าย ระบบนิเวศถูกท าลาย เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจ านวนมาก
                                   ภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองฝั่ง คือ อ่าวไทยทางฝั่ง
                   ตะวันออกและทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก ประกอบด้วยทิวเขาที่เป็นแกนของคาบสมุทรและที่ราบชายฝั่งทะเล
                   ที่ลาดลงสู่ทะเลทั้งสองฝั่ง โดยที่ราบด้านชายฝั่งตะวันออกกว้างกว่าทางฝั่งตะวันตก ชายฝั่งตะวันออกเป็นชายฝั่งที่
                   ราบเรียบและยกตัวสูงมีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง ส่วนชายฝั่งทะเลตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลจมตัวท าให้ฝั่ง

                   ทะเลขรุขระเว้าๆ แหว่งๆ มีเกาะใหญ่น้อยเป็นจ านวนมาก เนื่องจากภาคตะวันออกและภาคใต้มีลักษณะ
                   ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขาลูกเตี้ยๆ มีชายฝั่งทะเล จึงท าให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อท าการเกษตร
                   และสร้างที่อยู่อาศัย ท าให้ดินขาดรากไม้ยึดเหนี่ยวท าให้เกิดดินถล่มได้ง่าย  อีกทั้ง บริเวณที่มีชั้นดินหนาวางตัวอยู่
                   ตามเชิงเขาที่มีความลาดเอียงสูงหรือเป็นหน้าผาดินและบริเวณพื้นที่ที่มีการทับถมของกิ่งไม้ต้นไม้แห้ง ถูกน้ าพัด
                   พามาสะสมขวางทางน้ าเนื่องจากหากเกิดฝนตกหนัก เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดตลิ่งพังในช่วงฤดูน้ าหลาก
                   จะท าให้ตลิ่งพังและเกิดดินถล่ม (landslide) โดยบริเวณที่เกิดดินถล่ม โครงสร้างของชั้นดินบริเวณนั้นเสียสมดุล
                   เป็นเหตุให้เกิดดินถล่มซ้ าได้
                                 เมื่อพิจารณาการสูญเสียดินในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 23,441,619 ไร่ หรือร้อย

                   ละ 7.31 ของเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด
                   นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ และสระแก้ว  และจากผลการประเมินการสูญเสียดิน (ภาพที่ 3.6
                   และตารางที่ 3.11)  พบว่า เนื้อที่ของความรุนแรงของการสูญเสียดินสูงสุดในระดับน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี)
                   ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 78.52 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค พบกระจายทั่วทุกจังหวัด รองลงมา คือ ระดับความ
                   รุนแรงปานกลาง (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) และระดับรุนแรง (5-15 ตันต่อไร่ต่อปี) ส่วนระดับที่รุนแรงมากถึงมากที่สุด
                   (>15 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ในแต่ละระดับน้อยกว่าร้อยละ 1 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค และพบว่า พื้นที่มีการ
                   สูญเสียดินมากกว่า 2 ตันต่อไร่ต่อปี รวมเนื้อที่ประมาณ 5,035,462 ไร่ หรือร้อยละ 21.48 ของเนื้อที่ทั้งหมดของ
                   ภาค  โดยจังหวัดจันทบุรีมีเนื้อที่การสูญเสียดินมากที่สุด และพบกระจายในจังหวัดตราด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา
                   ปราจีนบุรี และสระแก้ว (ภาพที่ 3.6)
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98