Page 170 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 170

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    160




                                                               ของล าน้ าหลายสาย เขตพื้นที่ติดแนวชายแดน
                                                               จึงไม่สามารถขยายพื้นที่ท ากินเพิ่มได้อีก ประกอบ

                                                               กับพื้นที่ปลูกข้าวเป็นพื้นที่ลาดชัน มีปัญหาการ
                                                               ชะล้างพังทลายของดินสูงท าให้เกิดการสูญเสีย
                                                               หน้าดิน และธาตุอาหารในดินถูกชะล้างออกไป
                                                               ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวต่ า
                                                               ไม่เพียงพอต่อการบริโภค  ในแต่ละปีเกิดการ
                                                               บุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ าเพื่อเป็นพื้นที่ท ากินบริเวณ
                                                               กว้าง  เพื่อท าไร่เลื่อนลอยปลูกพืชเชิงเดี่ยว ได้แก่
                                                               ขิง ข้าวโพด และพืชไร่อื่นๆ ซึ่งส่งผลท าให้ป่าเสื่อม
                                                               โทรม  สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติและ

               ป่าต้นน้ า  ตลอดจนส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่ และมีแนวโน้มว่าจะมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ ราษฎร
               ในพื้นที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์ดินและน้ า รวมถึงการปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
                       สถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก ได้น าหลักเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ าของในหลวง
               รัชกาลที่ 9 เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ในการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ พร้อมน าพื้นที่ที่
               ถูกบุกรุกแผ้วถางมาท าการอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยการปรับพื้นที่ปลูกนาขั้นบันไดและปลูกข้าวสายพันธุ์ดี  มุ่งเน้น
               ให้เกษตรกรใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
                       “โดยฤดูฝนใช้ปลูกข้าว ฤดูแล้งปลูกพืชผัก ท าให้ราษฎรมีข้าวและพืชผักเพียงพอต่อการบริโภค มีรายได้
               ตลอดทั้งปี” เจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการท านาขั้นบันไดเพื่อการอนุรักษ์ดิน

               และน้ า และการปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อการผลิตข้าวได้อย่างยั่งยืน จะเห็นได้ว่าราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
               อย่างเป็นล าดับ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการบุกรุกป่า ลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ราษฎรใน
               พื้นที่สามารถใช้ทรัพยากรดินในการปลูกข้าวได้อย่างยั่งยืน ลดแรงปะทะกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและราษฎร
               ลงได้ เกิดมิตรภาพในการท างานของทั้งสองฝ่าย  ซึ่งเป็นการลดปัญหาได้ทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ



                       เน้นแก้ปัญหา 3 ทาง คือ
                       1) การอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยมาตรการ
               วิธีกล “การท านาขั้นบันได” โดยชุมชนมีส่วนร่วม

               ในการออกแบบ และมาตรการวิธีพืช “ปลูกหญ้า
               แฝก” เพื่อเพิ่มความคงทนและเกิดประสิทธิภาพ
               สูงสุดของนา
                      2) การปรับปรุงบ ารุงดินในพื้นที่มีการปรับ
               สภาพพื้นที่โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงดิน
               เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินและความอุดมสมบูรณ์
               ของดิน  รักษาน้ าและความชื้นในดิน รวมถึงการ
               ใช้น้ าในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175