Page 134 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 134

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    124









                        การป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน สามารถแบ่งออกได้ตามสภาพพื้นที่ และระดับ
               ความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน ดังนี้




                               แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินแบ่งตามระดับความรุนแรง
               โดยแบ่งระดับความรุนแรงในบริเวณพื้นที่ราบ (ความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์) และพื้นที่สูง (ความลาดชัน
               มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์) ดังนี้
                              1) ระดับการชะล้างพังทลายรุนแรงน้อยมาก (very slight)
                                  มีอัตราการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี (0-0.96 มิลลิเมตรต่อปี) สามารถวางแนวทาง
               ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ราบและที่สูง ดังนี้

                                   - พื้นที่ราบ (1L) : ควรท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เช่น การไถพรวนดินล่าง
               การปรับระดับ ปรับรูปแปลงนา ควบคู่กับการปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                  - พื้นที่สูง (1H) : ควรสงวนไว้ให้เป็นป่าต้นน้ าล าธาร
                              2) ระดับการชะล้างพังทลายรุนแรงน้อย (slight)
                                  มีอัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี (0.96-2.4 มิลลิเมตรต่อปี) สามารถวางแนวทาง
               ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ราบและที่สูง ดังนี้
                                   - พื้นที่ราบ (2L) : ควรท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เช่น การไถพรวนและ

               ปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ การปรับระดับ ปรับรูปแปลงนา และปรับปรุงบ ารุงดิน
                                   - พื้นที่สูง (2H) : ควรสงวนไว้ให้เป็นป่าต้นน้ าล าธาร
                              3) ระดับการชะล้างพังทลายรุนแรงปานกลาง (moderate)
                                  มีอัตราการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี (2.4-7.2 มิลลิเมตรต่อปี) การชะล้างพังทลาย
               มีผลท าให้ความต้องการในการจัดการดินผิดไปจากเดิม หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ดินยังมี
               ขีดความสามารถใช้ปลูกพืชได้เหมือนเดิม สามารถวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการะชะล้าง
               พังทลายของดินในพื้นที่ราบและที่สูง ดังนี้
                                   - พื้นที่ราบ (3L) : ควรท ามาตรการอนุรักษ์วิธีพืชและวิธีกลที่เหมาะสม อาทิ การไถพรวน
               และปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ การยกร่องตามแนวระดับ การสร้างคันดิน คันดินเบนน้ า
               คูรับน้ าขอบเขา ทางระบายน้ า บ่อดักตะกอนดิน เป็นต้น รวมทั้งมีการปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อเพิ่มความ

               อุดมสมบูรณ์ของดิน
                                    - พื้นที่สูง (3H) : ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชไร่
               พืชสวน ป่าเสื่อมโทรม จึงควรท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเคร่งครัดทั้งวิธีพืชและวิธีกล เพื่อลดปัญหา
               การชะล้างพังทลายของดินให้น้อยลง และควรสงวนไว้ให้เป็นป่าต้นน้ าล าธาร
                              4) ระดับการชะล้างพังทลายรุนแรง (severe)
                                  มีอัตราการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี (7.2-9.6 มิลลิเมตรต่อปี) การชะล้างพังทลาย
               ท าให้ขีดความสามารถของดินส าหรับปลูกพืชเปลี่ยนเลวลงกว่าเดิม เช่น ดินไม่สามารถใช้ปลูกข้าวโพดได้อีกต่อไป

               ต้องเปลี่ยนไปท าทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์แทน และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการดินสูงมากเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้
               หรือใช้เวลานานมากในการปรับปรุงคุณภาพดินให้ใช้ปลูกพืชได้เช่นเดิม สามารถวางแนวทางในการป้องกันและ
               แก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ราบและที่สูง ดังนี้
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139