Page 151 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองวังยาวแปลงที่ สบ. 4 จังหวัดสระบุรี : พื้นที่ดำเนินการ บ้านหนองมะกรูด หมู่ที่ 12 บ้านซับสนุ่น หมู่ที่ 9 บ้านซับขอน หมู่ที่ 12 และบ้านหนองจอก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ลุ่มน่ำสาขาแม่น้ำป่าสักตอนล่าง (รหัส 1208) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12)
P. 151

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      113


                                    แนวทางแกไข
                                    พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน (ความลาดชัน 12-20 เปอรเซ็นต) และมีลักษณะเปน

                       ดินตื้นไมควรปลูกพืชไรหรือพืชลมลุก ควรปลูกไมยืนตนและควรทําคันคูรอบเขาเพื่อระบายน้ําดวย
                       หากเกษตรกรมีความตองการจะปลูกพืชแซมระหวางตนกอนพืชจะโต ไมควรมีการไถพรวนในพื้นที่ที่มี
                       ความลาดเทสูง ควรใชวิธีปลูกพืชแบบไมไถพรวน หรือถาจะใชพื้นที่นั้นสําหรับเปนทุงหญาเลี้ยงสัตวก็

                       ควรทําคันดินหรือคันคูรอบเขาไวระบายน้ํา และตองหาทางและจุดที่จะระบายน้ําออกจากพื้นที่ใหดี
                       และเพียงพอ การปลูกไมยืนตนควรปลูกพืชคลุมดินและใชปุยหมักบํารุงดินดวย สวนในพื้นที่เนินเขา
                       (ความลาดชัน 20-35 เปอรเซ็นต) ควรทํามาตรการวิธีกลที่เขมขนกวา คือ การทําคันดินรับน้ํารอบเขา

                       ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเชนเดียวกับในพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน สวนมาตรการทางพืช เชน ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืช
                       ปุยสด ปลูกพืชสลับเปนแถบ ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชแซม ปลูกพืชเหลื่อมฤดู การปลูกพืชระหวาง
                       แถบไมพุมบํารุงดิน คันซากพืชแถบหญา เชน หญาแฝก หญารูซี่ กระถินกับถั่วมะแฮะ และไมบังลม

                       เปนตน
                                 3) พื้นที่ลาดชันเชิงซอน

                                    พื้นที่ลาดชันเชิงซอนเปนพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกวารอยละ 35 ลักษณะและสมบัติ
                       ของดินที่พบไมแนนอน มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณตาม

                       ธรรมชาติแตกตางกันไปแลวแตชนิดของหินตนกําเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน กอนหิน หรือหินโผล
                       กระจัดกระจายทั่วไป สวนใหญยังปกคลุมดวยปาไมประเภทตาง ๆ เชน ปาเบญจพรรณ ปาเต็งรังหรือ
                       ปาดงดิบชื้น หลายแหงมีการทําไรโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษดินและน้ํา ซึ่งเปนผลทําให

                       เกิดการชะลางพังทลายของหนาดิน จนบางแหงเหลือแตหินโผล ไมสามารถทําการเกษตรไดอยางมี
                       ประสิทธิภาพและสงผลกระทบทั้งทางตรงและทางออมตอทรัพยากรสิ่งแวดลอมและระบบนิเวศน
                       ไดแก หนวยแผนที่ SC มีเนื้อที่ 2,498 ไร หรือรอยละ 12.25

                                    แนวทางแกไข
                                    พื้นที่ลาดชันเชิงซอนหรือที่ลาดชันสูงมากกวา 35 เปอรเซ็นต ควรปลอยไวใหเปนปา

                       ตามธรรมชาติ เปนที่อยูอาศัยของสัตวปา แหลงตนน้ําลําธาร ควรรักษาไวใหเปนสวนปา สรางสวนปา
                       หรือใชปลูกไมใชสอยโตเร็ว ในกรณีที่จําเปนตองนํามาใชประโยชนทางการเกษตร จําเปนตองมี
                       การศึกษาดินกอน เพื่อใหทราบถึงความเหมาะสมของดินสําหรับการปลูกพืช โดยมีการใชประโยชน

                       ที่ดินในเชิงอนุรักษหรือวนเกษตร และจําเปนตองใชมาตรการวิธีกลและวิธีพืชผสมผสาน เชน การทํา
                       ขั้นบันไดดิน การปลูกหญาแฝกเพื่อการอนุรักษดินและน้ําและปรับปรุงบํารุงดิน เปนตน
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156