Page 9 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         2



                   1.4 ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินงาน

                          1.4.1 ระยะเวลาด าเนินงาน มีนาคม-มิถุนายน 2559
                          1.4.2 สถานที่ด าเนินงาน แปลงเกษตรกร นายดาวเรือง มะลิทอง เป็นแปลงทดสอบการผลิตข้าว

                   ตามวิธีเดิมของเกษตรกรและการผลิตข้าวของเกษตรกรโดยวิธีการไถกลบตอซัง หมู่ที่ 3 ต าบลคลองควาย

                   อ าเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พื้นที่ 9 ไร่ พิกัด UTM zone 47P 659418E 1558502N และแปลงนา
                   นายสมศักดิ์ มะลิทอง เป็นแปลงเปรียบเทียบ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ต าบลคลองควาย อ าเภอสามโคก จังหวัด

                   ปทุมธานี พื้นที่ 40 ไร่ พิกัด UTM zone 47P 659686E 1558037N

                          ลักษณะดินเป็นกลุ่มชุดดินที่ 2 ชุดดินอยุธยา (Ayutthaya series : Ay) การจ าแนกดินจัดอยู่ใน
                   Very-fine, mixed, active, acid, isohyperthermic, Vertic Endoaquepts เกิดจากตะกอนน้ าผสมกับ
                   ตะกอนทะเลพัฒนาในสภาพน้ ากร่อย บริเวณที่ราบน้ าทะเลเคยขึ้นถึง สภาพพื้นที่มีลักษณะราบเรียบ
                   ความลาดชัน 0-1 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเป็นดินลึกมาก การระบายน้ าเลว การไหลบ่าของน้ าบนผิวดินช้า

                   และความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
                          ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็น
                   ด่างประมาณ 6.0 ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวสีเทา สีเทาปนน้ าตาล มีจุดประสีแดง สีแดงปน
                   เหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-5.5  ที่ระดับความ

                   ลึก 100-150 เซนติเมตร จากผิวดิน พบจุดประสีเหลืองฟางข้าว และผลึกแร่ยิปซัมปะปนในชั้นหน้าตัดดิน
                   ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.0-4.5

                   1.5 ขั้นตอนและวิธีด าเนินงาน

                          1.5.1 พิจารณาคัดเลือกพื้นที่

                                พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ทั้ง 2 แปลง ซึ่งอยู่บนพื้นที่หมู่ 3 ต าบลคลองควาย อ าเภอสามโคก
                   จังหวัดปทุมธานี ทั้งสองแปลงเป็นดินเปรี้ยวจัด อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 2 ชุดดินอยุธยา ปัญหาส าคัญที่พบมาก
                   คือ ดินเป็นดินเหนียว ดินจึงเป็นกรดจัด ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช ท าให้
                   ต้องใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีเป็นจ านวนมาก ต้นทุนในการผลิตสูง

                          1.5.2 การใช้น้ าหมักชีวภาพ พด.2 ร่วมกับการไถกลบตอซัง
                                เป็นการใช้น้ าหมักชีวภาพ ซุปเปอร์ พด.2 สูตรสับปะรด มาหมักในนาข้าว เพื่อใช้ในการ
                   ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว โดยใช้สับปะรด จ านวน 20 กิโลกรัม กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม น้ า 10 ลิตร

                   และสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 จ านวน 1 ซอง หมักทิ้งไว้ 15 วัน แล้วน าไปใช้ในการย่อยสลายตอซังในนาข้าว
                   หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว อัตราที่ใช้ 5 ลิตรต่อไร่ โดยปล่อยไหลไปตามน้ า ในขณะที่เปิดน้ าเข้านา
                   จนทั่วทั้งแปลง แล้วปล่อยให้ย่อยสลายนาน 7 วัน
                          1.5.3 การใช้สมุนไพรไล่แมลง จากสารเร่ง พด. 7
                                เป็นการหมักสมุนไพร จาก ยาสูบ หางไหล เปลือกซาก และเมล็ดสะเดาบด จ านวน 40

                   กิโลกรัม กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม น้ า 10 ลิตร และสารเร่งซุปเปอร์ พด. 7 จ านวน 1 ซอง หมักทิ้งไว้ 21
                   วัน จึงกรองเอาน้ ามาใช้ ผสมเจือจาง 1 ต่อ 100 แล้วน าไปฉีดพ่นในนาข้าว อัตรา 30 ลิตรต่อไร่ เมื่อข้าว
                   อายุ 25 วัน

                          1.5.4 ศึกษาขั้นตอนการผลิตข้าวของเกษตรกรแปลงทดสอบ ทั้ง 2 แปลง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14