Page 8 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่
ท าการเกษตรทั้งประเทศ 149.254 ล้านไร่ เป็นพื้นที่นาข้าว 68.728 ล้านไร่ และเป็นพืชไร่ 30.734 ล้านไร่
เมื่อเสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยว จึงมีเศษเหลือของวัสดุตอซังข้าวโพด และอื่นๆกว่า 35 ล้านตันต่อปี โดยมี
ปริมาณตอซังข้าวมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตอซังพืชชนิดอื่น ในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณตอซัง
และฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ตอซังเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่าย มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อ
ไนโตรเจนเฉลี่ย 99:1 มีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
เฉลี่ย 0.51 0.14 และ 1.55 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณธาตุอาหารรองของพืช ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม
และซัลเฟอร์ เฉลี่ย 0.47 0.25 และ 0.17 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) แต่เกษตรกร
ส่วนมากยังนิยมเผาตอซัง เพื่อความสะดวกสบาย มีผลท าให้เกิดปัญหาหมอกควัน มลภาวะทางอากาศ
และดินสูญเสียอินทรียวัตถุที่เป็นส่วนประกอบที่ส าคัญ เมื่อดินเสื่อมโทรมลง เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาการใช้
ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมากขึ้น เพื่อทดแทนธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากที่พืชน าไปใช้ และการเผาตอซัง เพื่อให้
ได้ผลผลิตคงเดิม จากข้อมูลการน าเข้าปุ๋ยเคมีเดือนสิงหาคม ปี 2561 มีปริมาณการน าเข้า 564,532.8
ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 6,179 ล้านบาท (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2561)
ดังนั้น การไถกลบตอซังจึงเป็นการน าตอซังข้าวที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์
ในการปรับปรุงบ ารุงดินเพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต รักษาสิ่งแวดล้อม บรรเทาภาวะ
โลกร้อน และสนับสนุนการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และเป็น
แนวทางในการส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่า
ก่อความยั่งยืนให้กับอาชีพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาการไถกลบตอซังข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
1.2.2 เพื่อศึกษาการไถกลบตอซังข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
1.2.3 เพื่อศึกษาการไถกลบตอซังข้าวต่อต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
1.3 ขอบเขตการด าเนินงาน
เป็นการศึกษาการไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ในกลุ่มชุดดินที่ 2 ชุดดินอยุธยา (Ay)
สถานที่ด าเนินงานตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ต าบลคลองควาย อ าเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ชื่อเจ้าของแปลง คือ
นายดาวเรือง มะลิทอง ซึ่งเป็นหมอดินอาสาระดับหมู่บ้าน และนายสมศักดิ์ มะลิทอง โดยมีการเก็บ
ตัวอย่างดินในแปลงศึกษา เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน กิจกรรมการใช้น้ าหมัก
ชีวภาพ ซุปเปอร์ พด. 2 ร่วมกับการไถกลบตอซัง การใช้สมุนไพรไล่แมลง จากสารเร่งซุปเปอร์ พด. 7 และ
ผลต่อการเจริญเติบโตของข้าว การให้ผลผลิตของข้าว รวมถึงต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ