Page 18 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        10


                   2.4 ทรัพยากรดิน

                          ทรัพยากรดินในต าบลคลองควาย อ าเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 2
                   ประกอบด้วย 2 ชุดดิน คือ ชุดดินอยุธยา (Ay) จ านวน 7,361 ไร่ และ ชุดดินบางเขน (Bn) จ านวน
                   1,222 ไร่ ตามล าดับ (ภาพที่ 3) โดยมีรายละเอียดของกลุ่มชุดดิน ดังนี้ คือ

                          เป็นกลุ่มชุดดินเหนียว ที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนผสมระหว่างตะกอนล าน้ าและ
                   ตะกอนทะเล บริเวณที่ราบลุ่มที่เป็นน้ ากร่อย อยู่ห่างจากทะเลไม่มากนัก มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน ดินลึก
                   มาก การระบายน้ าไม่ดี เมื่อดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึก  โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และมีรอยถูไถลใน

                   ดินสีดินส่วนใหญ่จะเป็นสีเทาหรือสีเทาแก่ตลอด มีจุดประสีน้ าตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปนตลอดชั้นดิน
                   อาจพบผลึกยิปซั่มเล็กน้อย ดินเป็นกรดจัด ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.0 พบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุด
                   ประสีเหลืองของสารจาโรไซต์ หรือชั้นดินกรดก ามะถันที่เป็นกรดรุนแรง ลึกกว่า 100 เซนติเมตร ทับถมอยู่
                   บนชั้นดินเลนตะกอนน้ าทะเลที่มีสีเทาปนเขียว ดินเป็นกรดรุนแรงมาก ค่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า

                   4.0 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง
                          ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ท านา บางแห่งยกร่องปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผลบางชนิด นอกฤดูท านา
                   บางบริเวณอาจใช้ปลูกพืชไร่ เช่น พืชตระกูลถั่วต่างๆ บางแห่งถูกปล่อยทิ้งร้าง
                          ปัญหาหลักในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินเป็นกรดรุนแรง ท าให้ผลผลิตต่ า จ าเป็นต้องใส่วัสดุ

                   ปูนเพื่อลดความเป็นกรดลง
                          การจัดการดินส าหรับการปลูกข้าว ควรปลูกพืชบ ารุงดิน แก้ไขดินเหนียวที่มีโครงสร้างค่อนข้าง
                   แน่นทึบ ด้วยวัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1.5-2.0 ตันต่อไร่ หรือใช้วัสดุปรับปรุงดินอย่างอื่น เช่น
                   ขี้เลื่อย แกลบ กากน้ าตาล เป็นต้น ไถคลุกเคล้า และกลบลงในดิน แก้ไขดินกรดโดยใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด

                   หรือหินปูนฝุ่นเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 0.5-1.0 ตันต่อไร่ (ส านักส ารวจและวิจัยทรัพยากรดิน,
                   2554)


                   2.5 การวิเคราะห์สภาพพื้นที่

                          พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มต่ า ดินเป็นดินเหนียว ดินบนสีเทาหรือสีเทาเข้มมาก ดินชั้นล่างสีเทา
                   หรือสีน้ าตาลอ่อน พบจุดประสีเหลืองและสีน้ าตาล มีการระบายน้ าเลว ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดมาก

                   ความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท านา ปัญหาและข้อจ ากัดใน
                   การปลูกพืช คือ พบน้ าท่วมขัง ในช่วงฤดูฝนใน เนื่องจากกลุ่มชุดดินนี้พบในบริเวณที่ราบลุ่มต่ า มีน้ าท่วม
                   ขังเป็นระยะเวลา 4-5 เดือน ดินเป็นดินเหนียวจัด การระบายน้ าค่อนข้างเลว  และดินมีโครงสร้างค่อนข้าง
                   แน่นทึบ ท าให้การไถพรวนดิน ค่อนข้างล าบากและเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชท าให้พืชเกิด

                   การชะงักการเจริญเติบโต
                          ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปัญหาจากการใช้สารฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีจ านวนมาก อย่าง
                   ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีจนท าให้ดินเสื่อมสภาพลง และต้นทุนในการผลิตสูง ท าให้ได้รับผลตอบแทนต่ า
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23