Page 44 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        34



                          4.2 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ปีที่ 2
                              ต้นทุนการผลิตต่อไร่ของการปลูกมันสําปะหลัง ซึ่งเป็นค่าแรงงานได้แก่ ค่าเตรียมดิน (ไถดะ
                   และชักร่อง) ค่าใส่ปุ๋ย ค่าปลูกเสียบท่อนพันธุ์ ค่ากําจัดวัชพืช และค่าเก็บเกี่ยว ค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าท่อนพันธุ์

                   มันสําปะหลัง ค่าน้ําหมักชีวภาพ ค่าปุ๋ยเคมี พบว่า วิธีการที่ 1 มีต้นทุนการผลิตต่ําที่สุด คือ 5,659.45 บาท
                   ซึ่งต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นค่าแรงงาน เท่ากับ 4,664.45 บาทต่อไร่ ส่วนวิธีการที่ 4 มีต้นทุนการผลิต
                   สูงที่สุด คือ 5,939.00  บาทต่อไร่ ซึงค่าแรงการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะแปรผันตามปริมาณผลผลิต คือ 500
                   บาทต่อตัน (ตารางที่ 25)

                              มูลค่าผลผลิตของการปลูกมันสําปะหลัง พบว่า วิธีการที่ 3 มีมูลค่าผลผลิตของการปลูกมัน
                   สําปะหลังสูงสุด คือ 10,487.84 บาทต่อไร่ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตเท่ากับ 4,767.20 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อ
                   จําหน่ายหัวมันสําปะหลังในราคา 2.20 บาทต่อกิโลกรัม รองลงมาคือวิธีการที่  2 มีมูลค่าผลผลิตของการปลูก

                   มันสําปะหลัง 10,287.64 บาทต่อไร่ มีปริมาณผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 4,676.20 กิโลกรัมต่อไร่ และวิธีการ
                   ที่ 5  มูลค่าผลผลิตของการปลูกมันสําปะหลัง 10,068.96 บาทต่อไร่ มีปริมาณผลผลิตเท่ากับ 4,576.80
                   กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 25)
                               รายได้สุทธิของการปลูกมันสําปะหลัง พบว่า วิธีการที่ 3 มีรายได้สุทธิของการปลูกมันสําปะหลัง
                   สูงสุดเท่ากับ 4,683.84 บาทต่อไร่ รองลงมาเป็นวิธีการที่ 1 มีรายได้สุทธิของการปลูกมันสําปะหลังเท่ากับ

                   4,524.13  บาทต่อไร่ ส่วนวิธีการที่ 5  มีรายได้สุทธิของการปลูกมันสําปะหลังต่ําที่สุดเท่ากับ 4,222.16
                   บาทต่อไร่ ซึ่งรายได้สุทธิการผลิตจะขึ้นอยู่กับมูลค่าผลผลิต เมื่อนํามาคิดเป็นรายได้สุทธิโดยเปรียบเทียบ
                   ต้นทุนการผลิต จึงมีผลทําให้ได้ค่ารายได้สุทธิและมูลค่าผลผลิตจากการทดลองไปในทิศทางเดียวกัน

                   (ตารางที่ 25)
                              อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน  พบว่า โดยวิธีการที่ 3 มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน
                   คือ 1.81 รองลงมาคือ วิธีการทดลองที่ 1 มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน คือ 1.80 และวิธีการทดลองที่
                   4 และ 5  มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนต่ําสุด คือ 1.72 (ตารางที่ 25)
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49