Page 9 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2







                       1.2 วัตถุประสงค์
                              1.2.1 เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ต่อการ

                       เปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินในแปลงปลูกข้าว พื้นที่ต าบลพลับพลาไชย อ าเภออู่ทอง จังหวัด
                       สุพรรณบุรี

                              1.2.2 เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ต่อการ
                       ให้ผลผลิตข้าว


                              1.2.3 เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                       1.3 ขอบเขตของการด าเนินงาน

                              ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาการใช้ที่ดินในพื้นที่ด าเนินการ น าเทคโนโลยีด้านการพัฒนา

                       ที่ดิน ประกอบด้วย การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) การใช้น้ าหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่ง
                       ซุปเปอร์ พด.2  และสารป้องกันแมลงศัตรูพืชจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7  และการใช้ปุ๋ยตามค่า
                       วิเคราะห์ดิน  มาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางการเกษตรและเปรียบเทียบสมบัติทางเคมีของดิน ผลผลิต และ
                       ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน

                       1.4 ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินงาน

                              1.4.1 ระยะเวลาด าเนินงาน ตุลาคม 2560 ถึงกันยายน 2561
                              1.4.2  สถานที่ด าเนินงาน แปลงนาเกษตรกรเครือข่ายด้านการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ หมู่ที่ 7
                       ต าบลพลับพลาไชย อ าเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พิกัด UTM Zone 47P 602453E 1606747N
                       ลักษณะดินเป็นกลุ่มชุดดินที่ 7 ชุดดินเดิมบาง (Doem Bang Series : Db) การจ าแนกดินจัดอยู่ใน

                       Fine, kaolinitic, isohyperthermic Aeric (Plinthic) Endoaqualfs เกิดจากตะกอนน้ าพามาทับ
                       ถม สภาพพื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-1 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึก ดิน
                       บนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ าตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง ค่าความเป็นกรด

                       เป็นด่างประมาณ  6.0  ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทราย และดิน
                       เหนียว สีเทาปนน้ าตาล สีน้ าตาลปนเทา มีจุดประสีน้ าตาลแก่ สีน้ าตาลปนเหลือง สีเหลืองปนน้ าตาล
                       ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-8.0

                       1.5 ขั้นตอนและวิธีการด าเนินงาน
                              1.5.1  ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสภาพพื้นที่ สภาพปัญหาทางการเกษตร และปัญหาการใช้

                       ที่ดินในพื้นที่ต าบลพลับพลาไชย จากแผนที่ดินและรายงานการส ารวจทรัพยากรดิน จังหวัดสุพรรณบุรี
                       (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2552)
                              1.5.2 คัดเลือกพื้นที่ด าเนินการ โดยพิจารณาจากพื้นที่ปลูกข้าว ที่มีศักยภาพแต่ยังมีการใช้ปุ๋ย
                       และสารเคมีอัตราสูง และมีต้นทุนการผลิตข้าวสูง ซึ่งเป็นแปลงเกษตรกรเครือข่ายด้านการพัฒนาที่ดิน

                       ที่มีความพร้อมในการด าเนินงานและสามารถขยายผลไปสู่เกษตรกรที่มีปัญหาเดียวกันในพื้นที่ได้
                              1.5.3  เก็บตัวอย่างดินก่อนการหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทือง ที่ระดับความลึก 0-15  เซนติเมตร
                       เพื่อวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยวิธี Walkley and Black (Walkley and Black, 1947)
                       ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Avail.P)  โดยวิธี Bray  II  (Bray  and  Kurtz,  1945) ปริมาณ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14