Page 8 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินโดย
มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่ส าคัญ ได้แก่
การชะล้างพังทลายของดิน ดินมีความอุดมสมบรูณ์ต่ า ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ (พรุ) ดินทราย
จัด และดินตื้น ก่อให้เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อการท าการเกษตรและความเป็นอยู่ของ
เกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรีมีการประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก มีพื้นที่ถือครองเพื่อ
การเกษตร 2,188,241 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 65.34 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ประชาชนร้อยละ 87.9
ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม (ส านักงานจังหวัดสุพรรณบุรี, 2560) ปัญหาทรัพยากรดินที่พบใน
พื้นที่ประกอบด้วย ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีเนื้อที่ประมาณ 437,047 ไร่ ดินด่างจัด มีเนื้อที่
ประมาณ 95,504 ไร่ ดินทรายจัด มีเนื้อที่ประมาณ 5,985 ไร่ ดินเปรี้ยวจัด มีเนื้อที่ประมาณ
565,958 ไร่ ดินตื้น มีเนื้อที่ประมาณ 120,913 ไร่ การกร่อนของดินมีเนื้อที่ประมาณ 146,720 ไร่
พื้นที่มีความลาดชันสูงหรือพื้นที่ภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 43,253 ไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557) จะเห็น
ได้ว่าปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าเป็นปัญหาที่พบมากในจังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ต าบลพลับ
พลาไชยเป็นพื้นที่หนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรีที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพในการท านา ปัญหาในการ
ผลิตข้าวของเกษตรกรที่พบในต าบลพลับพลาไชย คือ ปัญหาด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการ
ปลูกพืชเชิงเดี่ยวติดต่อกันเป็นเวลานาน ท าให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมลงประกอบกับพื้นฐานชุดดินใน
พื้นที่ต าบลพลับพลาไชยเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ าอยู่แล้ว ท าให้ได้ผลผลิตข้าวไม่เต็ม
ประสิทธิภาพการผลิต การแก้ไขปัญหาดินมีความอุดมสมบรูณ์ต่ านี้สามารถท าได้หลายวิธี เช่น การใช้
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด เป็นต้น (กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2558) ร่วมกับการน าแนวทาง
เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินมาใช้ในการผลิต
การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบ ารุงดินเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและสามารถท าได้ง่าย พืชปุ๋ยสดที่
นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ ปอเทือง เพราะขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินเหนียว ไม่ชอบน้ าท่วม
ขัง ทนแล้งได้ดี ไม่ต้องดูแลรักษามาก เมื่อไถกลบจะให้น้ าหนักสดเฉลี่ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม มี
ธาตุอาหาร ไนโตรเจน 2.76 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.22 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม 2.40
เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินได้เฉลี่ย 0.20 เปอร์เซ็นต์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
การใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นการเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดิน ปรับปรุงสมบัติของดิน ทั้งทางด้านกายภาพ
และเคมี เมื่อมีการใช้อย่างต่อเนื่องท าให้สามารถลดต้นทุนในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีได้ ดังนั้น จึงได้ศึกษา
การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบ ารุงดินและเพิ่มผลผลิต
ข้าว ในพื้นที่ต าบลพลับพลาไชย อ าเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง
บ ารุงดิน และเป็นแปลงสาธิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่ประสบปัญหาเดียวกันต่อไป