Page 10 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Avail.K) โดยวิธีสกัดด้วย NH Oac 1 N, pH 7 (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อ
4
การพัฒนาที่ดิน, 2547) และค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH; ดิน:น้ า อัตราส่วน 1:1)
1.5.4 หว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทือง ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบเมื่อถึงระยะเวลาออก
ดอก 55 วัน (ภาพผนวกที่ 2 3 4 5 และ 6)
1.5.5 เก็บตัวอย่างดินหลังการไถกลบปอเทือง เพื่อวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ของดิน และค านวณอัตราการใช้ปุ๋ยในนาข้าวได้ดังนี้ แม่ปุ๋ยที่ใช้มีจ านวน 2 สูตร คือ 46-0-0 ในอัตรา
26 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 0-0-60 ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยปุ๋ยโพแทสเซียมใส่ที่ระยะ 15–20
วัน หลังข้าวงอก ส่วนปุ๋ยไนโตรเจน แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ที่ระยะปักด า และครั้งที่ 2 ใส่ที่
ระยะก าเนิดช่อดอก (อัตราปุ๋ยใช้ตามค าแนะน าของกลุ่มวิเคราะห์ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 1)
1.5.6 ผลิตน้ าหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อใช้เป็นสารเสริมการเจริญเติบโต
โดยใช้สับปะรดและฟักทอง เป็นส่วนผสมในการหมัก (ภาพภาคผนวกที่ 7) ใช้ในขั้นตอนการเตรียมดิน
โดยเทน้ าหมักชีวภาพลงในนา อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ (ภาพภาคผนวกที่ 9) ช่วงการเจริญเติบโตข้าวอายุ
30 และ 50 วัน ฉีดพ่นโดยผสมน้ าหมักชีวภาพในอัตรา 1:500 ลิตร และใช้น้ าหมักที่เจือจางแล้วฉีด
พ่นในอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
1.5.7 ผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 (ภาพภาคผนวกที่ 8) ฉีดพ่น
เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในการป้องกันเพลี้ยและหนอน ฉีดพ่นสารควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยเจือจาง
ในอัตรา 1 : 100 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชในอัตรา 50 ลิตรต่อไร่ โดยท าการฉีดพ่นที่ข้าว
อายุ 30 และ 50 วัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
1.5.8 ด าเนินงานตามแผนการด าเนินงานที่ก าหนดไว้
1) เตรียมแปลงปลูกพืชปุ๋ยสด หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จเพราะดินหลังจากเกี่ยวข้าวจะ
ยังมีความชื้นเพียงพอที่เมล็ดพันธุ์ปอเทืองจะงอกและเจริญเติบโตได้ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทือง ใน
อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ไถพื้นที่เพื่อเป็นการกลบเมล็ดพันธุ์ปอเทือง (ภาพภาคผนวกที่ 1) หลังจากปอ
เทือง เจริญเติบโตได้ 55 วัน ท าการไถกลบลงดินและทิ้งให้ปอเทืองย่อยสลาย 30 วัน (ภาพภาคผนวก
ที่ 5 และ 6)
2) เตรียมแปลงปลูกข้าว หลังจากปอเทืองย่อยสลายแล้วเตรียมแปลงปลูกข้าว โดย
ใช้น้ าหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ใส่ในขั้นตอนการเตรียมดิน อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ (ภาพ
ภาคผนวกที่ 9)
3) การดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยตามค าแนะน าการใช้ปุ๋ยในนาข้าว เมื่อข้าวอายุ 15 วัน และ
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุ 75 วัน ฉีดพ่นน้ าหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และสารป้องกันแมลง
ศัตรูพืชจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 เมื่อข้าวอายุได้ 30 และ 50 วัน หมั่นดูแลระดับน้ าในพื้นที่นาให้
เพียงพอต่อความต้องการของข้าว และสังเกตโรคและแมลงอย่างสม่ าเสมอ
4) การเก็บเกี่ยวข้าว ด าเนินการเก็บเกี่ยวข้าวเมื่อข้าวอายุ 105 วัน
1.5.9 เก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อเป็นตัวชี้วัดผลการด าเนินงาน ประกอบด้วย ข้อมูลผลวิเคราะห์
ดินก่อนและหลังปลูกพืชปุ๋ยสด ข้อมูลผลวิเคราะห์ดินหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ข้อมูลผลผลิตข้าว
และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการผลิตข้าวของเกษตรกร