Page 8 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1


                                                           บทที่ 1

                                                            บทน ำ

                   1.1 หลักกำรและเหตุผล
                            ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่มีความส าคัญชนิดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งส าหรับการ

                   จ าหน่ายและการบริโภค และข้าวยังเป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้แก่เกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานีอีก
                   ด้วย ในปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวไม่น้อยกว่า 4,000,000 ไร่ (เทคโนโลยีการเกษตร,
                   2561) ถือว่ามีพื้นที่ในการปลูกข้าวมากที่สุดในประเทศไทย แต่พบว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ที่

                   เหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวเพียงแค่ 200,000 ไร่ เท่านั้น (เทคโนโลยีการเกษตร, 2561) และเกษตรกร
                   ในพื้นที่ปลูกข้าวเป็นเวลาติดต่อกันหลายสิบปี ส่งผลให้ดินมีความเสื่อมโทรม เกษตรกรจ าเป็นต้องใช้
                   ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรในปริมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยัง
                   พบว่าเกษตรกรมีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตพืชมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.8-14.2 ต่อปี

                   (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, ม.ป.ป) ท าให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการผลิตในอัตราที่สูง นอกจากนี้ยัง
                   พบการปนเปื้อนและการตกค้างของสารพิษในข้าวอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรดินที่ถูกต้อง
                   ตามหลักวิชาการ รัฐบาลได้มีนโยบายฟื้นฟูทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เกษตรกรท า
                   เกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ (organic rice) กระทรวงเกษตร

                   และสหกรณ์จึงมีนโยบายด าเนินโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) เพื่อเป็น
                   การพัฒนาการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็น
                   ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี มีการบริหารจัดการในรูปแบบเชิงอุตสาหกรรม โดยพัฒนากรรมวิธีการ
                   ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 แบบประณีต (Intensive Farming) น าชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้มีการน า

                   เครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตของชาวนาที่ยังสูงอยู่ เพื่อให้
                   สามารถผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ได้ผลผลิตสูงมีคุณภาพดีมีการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน (GAP) และ
                   มีการเชื่อมโยงทางการตลาด รวมทั้งเกษตรกรได้ผลผลิตในปริมาณที่มากขึ้น มีคุณภาพที่ดีขึ้น ด้านต้นทุน

                   การผลิตต่ าลง และมีรายได้เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งได้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับ
                   ว่าอินทรียวัตถุสามารถปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี
                            สถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานีจึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น เช่น ท าปุ๋ยหมักใช้
                   เอง ส่งเสริมการผลิตน้ าหมักชีวภาพ การใช้ปุ๋ยพืชสด การไถกลบตอซังข้าว และลดการใช้สารปราบ
                   ศัตรูพืชผลิตสารควบคุมแมลงจากพืชสมุนไพรให้กับเกษตรกรในพื้นที่เพื่อช่วยให้เกษตรกรเพิ่มขีด

                   ความสามารถในการแข่งขันผลิตผลการเกษตร จึงจ าเป็นจะต้องมุ่งเน้นการผลิตต้นทุนต่ าและใช้เทคโนโลยี
                   สะอาดเพื่อลดสารตกค้างในดินและในข้าวขาวดอกมะลิ 105 มุ่งเน้นการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เชิง
                   คุณภาพด้านเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น ดังนั้นจึงได้ท าการศึกษาเรื่องการไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืช

                   ร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักและน้ าหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริม
                   การเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าวอ าเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่ด าเนินการ 1,166 ไร่
                   จ านวนสมาชิก 75 ราย และได้วิเคราะห์ปัญหา พร้อมทั้งอุปสรรคในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของ
                   เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าเกษตรกรมีปัญหาด้านดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ขาดการปรับปรุงบ ารุง

                   ดิน รวมถึงการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุน และเพิ่ม
                   ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน นอกจากเกษตรกร
                   จะได้ผลผลิตข้าวที่ปลอดภัยได้รับรองมาตรฐาน GAP แล้ว ยังเป็นแนวทางในการปรับปรุงดินให้มี
                   คุณสมบัติทางเคมี ชีวภาพ และกายภาพที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมีเป็นระยะเวลานานอีกด้วย เพื่อให้
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13