Page 58 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        46


                                                           บทที่ 5

                                                      สรุปผลการศึกษา

                   5.1 สรุปผลการศึกษา
                            5.1.1 การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

                   ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ข้าวต าบลนาเยีย อ าเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
                                  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินในพื้นที่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจาก
                   ค่าเฉลี่ย 4.90 เป็น 5.10 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นจากค่าเฉลี่ย 0.52 เปอร์เซ็นต์

                   เป็น 0.78 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีแนวโน้มว่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากค่าเฉลี่ย
                   4.68 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็น 5.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน
                   จากพื้นที่ของเกษตรกรมีแนวโน้มมีค่าเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 24.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็น 25.1 กิโลกรัม
                   ต่อไร่

                            5.1.2 การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักและน้ าหมักชีวภาพต่อการ
                   เจริญเติบโตและผลผลิตข้าวของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว
                   อ าเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
                                  การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แปลงของเกษตรกรที่เข้าร่วม

                   โครงการได้รับการสนับสนุนการไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักและน้ าหมักชีวภาพ
                   โดยการใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ท าให้ปรับปรุงสมบัติกายภาพดิน ท าให้ดินร่วนซุย
                   การระบายอากาศ และอุ้มน้ าของดินดีขึ้น เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง
                   และจุลธาตุ ดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อย

                   ออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูก เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด
                   เป็นด่างของดิน เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ท าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ใน
                   ดินเพิ่มขึ้น การใช้น้ าหมักชีวภาพที่ผลิตโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 เมื่อน าน้ าหมักชีวภาพไปพ่นที่ใบและ

                   รดลงดินจะสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชรวมถึงการติดดอก ออกผลได้เป็นอย่างดี ส าหรับการใช้
                   น้ าหมักชีวภาพ ให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยอินทรียวัตถุ การหว่าน
                   เมล็ดพันธุ์ปอเทืองเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มธาตุอาหาร
                   พืชและเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ส าหรับพืชที่จะปลูกต่อไป และการไถกลบตอซังข้าว
                   เป็นแหล่งอินทรีวัตถุและธาตุอาหารพืช ปัจจุบันได้มีการน าน้ าหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักวัสดุเศษปลา

                   หอยเชอรี่ ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารมาใช้ประโยชน์ในการหมักโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายตอ
                   ซังได้ดีขึ้น ตอซังอ่อนนุ่ม ย่อยสลายได้ง่าย
                            5.1.3 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่เข้าร่วมการไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืช

                   ร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักและน้ าหมักชีวภาพโครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อ าเภอ
                   นาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
                                 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกข้าวที่เกษตรกรมีการไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซัง
                   พืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักและน้ าหมักชีวภาพ มีแนวโน้มที่ได้รับผลตอบแทนเหนือค่าใช้จ่ายผันแปรที่ดีขึ้น

                   ถ้าเกษตรกรได้มีการไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักและน้ าหมักชีวภาพในทุกๆ ปีโดย
                   มีการใช้อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและสามารถเพิ่มรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63