Page 84 - เปรียบเทียบพันธุ์หญ้าแฝกและพืชคลุมดินต่อการฟื้นฟูและการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน
P. 84

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                          56

                  3. ความสัมพันธระหวางสมบัติดินบางประการกับมวลชีวภาพของหญาแฝกและพืชคลุมดิน
                        จากการศึกษาความสัมพันธระหวางปจจัยตัวชี้วัดมวลชีวภาพของหญาแฝกและพืชคลุมดิน  และปจจัย

                  สมบัติของดินประกอบดวย ความหนาแนนรวมของดิน ปริมาณความชื้นในดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                  ปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เปนประโยชนในดินที่ระดับความลึกของดิน 0-50 เซนติเมตร
                  พบวามวลชีวภาพหญาแฝกทั้งสวนเหนือดินและสวนใตดินมีความสัมพันธในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสงผลตอ
                  ความหนาแนนดินลดลง อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น ความชื้นในดินเพิ่มขึ้น ฟอสฟอรัสที่เปนประโยชนเพิ่มขึ้น

                  ในขณะที่มวลชีวภาพของพืชคลุมดินไมมีความสัมพันธกับสมบัติของดิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
                        3.1 ความหนาแนนรวมของดิน
                             จากการศึกษาความหนาแนนรวมของดินมีความสัมพันธกับมวลชีวภาพน้ําหนักใบหญาแฝก (r =-0.78**)
                  และน้ําหนักรากหญาแฝก (r = -0.70**) ในทางลบ ซึ่งสอดคลองกับผลการศึกษาของอรรณพ และคณะ (2555)

                  รายงานวาดินที่ไดรับมวลชีวภาพซึ่งเปนแหลงปริมาณอินทรียคารบอนในดินสูงทําใหความหนาแนนรวมของดิน
                  ลดลง โดยเฉพาะเศษซากที่มีองคประกอบทางเคมีที่ตานทานการสลายตัวสูงเชน ลิกนินและโพลีฟนอล
                  (Puttaso et al., 2011)  จากความสัมพันธนี้ชี้ใหเห็นวาน้ําหนักใบของหญาแฝกที่เพิ่มขึ้นมีผลทําใหความ
                  หนาแนนรวมของดินลดลง ทั้งนี้อาจเนื่องจากใบของหญาแฝกที่มีการตัดใบคลุมผิวดินอยางตอเนื่องทุก 4 เดือน

                  ซึ่งเกิดการทับถมลงบนผิวดิน และบางสวนของใบหญาแฝกสัมผัสกับผิวหนาดินเกิดการยอยสลายและเกิดการ
                  สะสมปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นและทําใหโครงสรางดินรวนซุยไมแนนทึบ ประกอบกับระบบใตดิน
                  ภายใตการปลูกหญาแฝกที่มีการแผกระจายของระบบรากอยูเปนจํานวนมากยิ่งสงเสริมชวยทําใหโครงสรางดิน

                  รวนซุยขึ้น และจากการศึกษาพบวาความหนาแนนรวมของดินมีความสัมพันธทางลบกับปริมาณอินทรียวัตถุใน
                  ดิน (r =-0.70**) อีกทั้งในบริเวณที่มีรากหญาแฝกจํานวนมากกอใหเกิดกิจกรรมทางชีวภาพสูงผานการ
                  ดํารงชีวิตสิ่งมีชีวิตทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญโดยเฉพาะในสภาพที่มีพืชปกคลุมอยางหนาแนน เชน เกิด
                  กิจกรรมการยอยสลายของเศษซากของใบหญาแฝก และรากที่ตายผานกิจกรรมของจุลินทรียหรือสิ่งมีชีวิตซึ่ง
                  สงผลดีตอสมบัติดินทางกายภาพ (โครงสรางของดิน) ความอุดมสมบูรณของดิน และการหมุนเวียนธาตุอาหาร

                  (Leaungvutiviroj et al. 2010)  สงเสริมความสามารถในการซาบซึมน้ํา รวมถึงการชอนไชดินของรากพืช
                  ไสเดือน และแมลงในดินซึ่งชวยใหดินมีชองวางมากขึ้น ความหนาแนนรวมของดินลดลง การนําน้ําไดดีขึ้น
                  (María and Briones, 2014) จุฑามาศ (2557) รายงานวาการปลูกพืชแบบผสมผสาน และแบบเชิงเดี่ยวใน

                  ยางพาราความหนาแนนรวมของดินมีความสัมพันธกับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (r=-0.65) และมีความ
                  สัมพันธกับปริมาณความชื้นในดิน  (r=-0.66)
                        3.2 ปริมาณความชื้นในดิน
                           จากผลการศึกษาความชื้นในดินมีความสัมพันธกับมวลชีวภาพน้ําหนักใบหญาแฝก (r = 0.75**)

                  และมวลชีวภาพรากหญาแฝก (r = 0.70**)  ในทางบวก ขณะที่ความชื้นในดินมีความสัมพันธกับน้ําหนักของ
                  พืชคลุมดินทั้ง 2 ชนิดคือ ถั่วปนโตและถั่วเวอราโนในทางลบ จากความสัมพันธดังกลาวโดยเฉพาะมวลชีภาพ
                  ขึ้นอยูกับชนิดพืชตาง ๆ ซึ่งมวลชีวภาพของหญาแฝกที่เพิ่มขึ้นและการใหรมเงาของทรงพุมหญาแฝกยิ่งสงผลให
                  ปริมาณความชื้นในดินเพิ่มขึ้นตามไปดวย เนื่องจากการตัดใบหญาแฝกคลุมดินจะชวยใหความชื้นอยูในดิน

                  ระยะเวลายาวนานขึ้น ปกปองแสงแดด ลดการระเหยน้ําจากดิน และชวยใหน้ําฝนซึมซาบลงในดินไดมากยิ่งขึ้น
                  อีกทั้ง หญาแฝกเปนพืชตระกูลเดียวกับขาวโพด ออย ซึ่งเปนพืชที่มีลิกนินเปนองคประกอบคอนขางมาก
                  จึงเกิดการยอยสลายชากวาเศษพืชชนิดอื่น ๆ (คณาจารยภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548 ; Puttaso et al., 2011)
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89