Page 40 - ระบบบริหารจัดการงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมพัฒนาที่ดิน
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      2-16


                   ต่อจากนั้นข้อมูลส่วนใดที่มีลักษณะผิดแปลกออกไปจะไม่สามารถบันทึกเข้ามาได้ จึงท าให้ข้อมูลที่มีอยู่ใน

                   ฐานข้อมูลนั้นมีความถูกต้องตามโครงสร้างอยู่เสมอ  เช่น ข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน จะต้องมีรูปแบบ
                   เป็นตัวเลขจ านวน 13 หลักเท่านั้น จะใส่ข้อมูลตัวอักษรเข้าไปไม่ได้ เป็นต้น
                              4)  ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Shared  Data) การจัดเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกัน ท าให้แต่ละฝ่ายใน

                   องค์กรสามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลระหว่างกันได้โดยง่าย เช่น ฝ่ายการเงินต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
                   ลูกค้า ก็สามารถเรียกใช้ได้โดยดึงข้อมูลมาจากระบบฐานข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน หรือฝ่ายบริหาร

                   อาจต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลพนักงานเพื่อดูประวัติการท างานก็สามารถเรียกใช้ร่วมกันได้ เป็นต้น
                              5)  ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล (Easier Access) ฐานข้อมูลช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น
                   เพราะมีกลไกในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกัน  โดยเฉพาะในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

                   ที่เรียกว่า RDBMS (Relational Database Management System) จะมีค าสั่งในการเรียกค้นข้อมูลเป็น

                   ภาษา SQL  (Structure  Query  Language) ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ต้องการ เช่น การค้น
                   เปลี่ยนแปลงแก้ไข เพิ่ม และลบรายการข้อมูล เป็นต้น
                              6)  ลดระยะเวลาการพัฒนาระบบงาน (Reduced  Development  Time) การใช้

                   ฐานข้อมูลที่ท าให้ลดความซ้ าซ้อนของข้อมูล (Data  Redundancy)  ลดความขัดแย้งของข้อมูล (Data
                   Inconsistency) รวมถึงการรักษาความคงสภาพของข้อมูล (Data Integrity) ที่ได้นั้น ท าให้ปัญหาในการ

                   พัฒนาระบบงานต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นมีน้อยมาก ส่งผลให้นักพัฒนาระบบประหยัดเวลาได้มากยิ่งขึ้น เพราะ
                   ฐานข้อมูลมีส่วนช่วยในเรื่องของคุณสมบัติดังกล่าวนั่นเอง

                         2.2.2 การพัฒนาฐานข้อมูล

                              โอภาส  เอี่ยมสิริวงศ์ (2560)  อธิบายว่า เมื่อต้องการพัฒนาฐานข้อมูล จะต้องออกแบบ

                   ฐานข้อมูลก่อน  ซึ่งในขั้นแรกจะต้องวางแผนข้อมูล ด้วยการพัฒนาแบบจ าลองกระบวนการตามส่วนงาน
                   ต่างๆ ขึ้นมาในรูปแบบของเอกสาร เพื่อให้ทราบถึงเส้นทางการไหลของข้อมูลและเอกสารตามส่วนงาน
                   ต่างๆ ต่อมาผู้บริหารฐานข้อมูลและนักออกแบบฐานข้อมูลก็จะท างานร่วมกันกับผู้ใช้เพื่อวิเคราะห์ถึง

                   ปัญหา ก าหนดขอบเขต และกระบวนการท างาน จากนั้นจะระบุความต้องการทางสารสนเทศลงไปใน
                   ข้อก าหนด และพัฒนาแบบจ าลองฐานข้อมูลเชิงแนวคิดขึ้นมา ที่เรียกว่า แผนภาพอีอาร์ (Entity
                   Relationship Diagram : ERD) ซึ่งเป็นแบบจ าลองที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน
                   ระบบ แต่ละเอ็นทิตี้จะประกอบด้วยแอตทริบิวต์ต่างๆ พร้อมกับการเชื่อมโยงระหว่างเอ็นทิตี้ จุดประสงค์
                   ของอีอาร์ไดอะแกรมก็คือ แผนภาพที่น ามาใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

                   ระหว่างผู้ออกแบบระบบกับผู้ใช้งาน
                              เมื่อออกแบบแผนภาพอีอาร์เสร็จเรียบร้อยแล้วและเป็นที่ยอมรับ ก็จะคัดเลือกซอฟต์แวร์
                   DBMS  ที่น ามาใช้จัดการกับฐานข้อมูล เพื่อน าไปสู่การออกแบบฐานข้อมูลเชิงตรรกะ ด้วยการแปลงภาพ

                   อีอาร์มาเป็นตาราง เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูล โดยตารางข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมไว้ภายในฐานข้อมูลชุด
                   เดียวกันที่การเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านคีย์ โดยสรุปขั้นตอนการพัฒนาฐานข้อมูล ดังภาพที่ 2-2
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45