Page 98 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม บ้านนาหมัน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
P. 98

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       82







                       ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 เซนติเมตร จ้านวน 2 จุด เป็นการระบายน้้าข้ามฝั่งถนน ปลูกหญ้าแฝก
                       จ้านวน 148,000 กล้า หรือ ความยาว 7.40 กิโลเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน และปลูกไม้ยืนต้นและ
                       ไม้ผล จ้านวน 10,040 ต้น ลดความเสี่ยงการเกิดดินถล่ม
                                     3) การประเมินการสูญเสียดินใช้สมการ USLE ก่อนด้าเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและ

                       น้้า พบว่า มีอัตราการสูญเสียดินรวมทั้งสิ้น 33.607 ตันต่อไร่ต่อปี โดยพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ไร่
                       หมุนเวียน) ป่าผลัดใบสมบูรณ์ และพื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความลาดชัน 12 – 35 เปอร์เซ็นต์ มีการ
                       สูญเสียดินอยู่ในระดับน้อย (ต่้ากว่า 2 ตันต่อไร่ต่อปี) ส่วนพื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความลาดชัน
                       มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีการสูญเสียดินอยู่ในระดับปานกลาง (2 – 4 ตันต่อไร่ต่อปี) เมื่อด้าเนินการจัดระบบ

                       อนุรักษ์ดินและน้้าแล้ว พบว่า ทั้งพื้นที่โครงการมีการสูญเสียดินในระดับน้อย (ต่้ากว่า 2 ตันต่อไร่ต่อปี)
                       ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ และมีอัตราการสูญเสียดินลดลง 67.50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับค่าการสูญเสีย
                       ดินก่อนด้าเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้้า
                              5.1.2 การประเมินระดับความพึงพอใจของเกษตรกรด้วยแบบสอบถาม พบว่า เกษตรกรมี

                       ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ประเด็นระบบอนุรักษ์ดินและน้้าตรงต่อความต้องการ ความคาดหวัง
                       ว่าจะได้ประโยชน์ในอนาคต ได้รับระบบอนุรักษ์ดินและน้้าทันต่อความต้องการของเกษตรกร
                       เจ้าหน้าที่มีความระมัดระวัง รอบคอบ พูดจาสุภาพ เป็นกันเอง และยิ้มแย้มแจ่มใส และระยะเวลาใน

                       การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้้าทันต่อสถานการณ์ และมีความพึงพอใจในระดับมาก ในประเด็นรักษา
                       น้้าและความชื้นในดิน เจ้าหน้าที่มีความชัดเจนในการอธิบาย ชี้แจง เสนอแนะ รักษาความอุดม
                       สมบูรณ์และธาตุอาหารพืช สามารถแก้ไขปัญหาเสี่ยงภัยดินถล่ม เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความเสมอ
                       ภาค และช่วยลดการชะล้างหน้าดิน เกษตรกรมีความรู้สึกว่า การใช้ที่ดินในปัจจุบันเมื่อเทียบกับเมื่อ
                       5-10 ปีก่อนเข้าร่วมโครงการ ท้าให้ปลูกไม้ผลได้ดีขึ้น ลดการถล่มของดิน กักเก็บน้้าไว้ไม่ให้ไหลเร็ว

                       เดินเก็บผลผลิต พ่นยา และใส่ปุ๋ยได้ง่ายขึ้น ดินมีความชุ่มชื้น และได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่าโครงการ
                       นี้มีความเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและเป็นที่ต้องการของเกษตรกรอย่างมาก

                       5.2 ข้อเสนอแนะ

                              5.2.1 ควรให้มีการเก็บข้อมูลตัวแปรตามสมการการสูญเสียดินสากล ได้แก่ ค่า R  และ C

                       เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถประเมินการสูญเสียดินได้แม่นย้ายิ่งขึ้น
                              5.2.2 ควรมีการเก็บประเมินตะกอนดินเพื่อประเมินมูลค่าการสูญเสียดินเปรียบเทียบกับราคา
                       ปุ๋ยเคมีหรือมูลค่ามาตรการป้องกันดินถล่ม
                              5.2.3 ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ เว็บไซต์ เป็น
                       ต้น ในด้านการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                              5.2.4 ควรมีการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้าวิธีพืช เข้าร่วมในการแก้ปัญหา เช่น การปลูก
                       พืชคลุมดิน การปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียน เป็นต้น

                       5.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

                              5.3.1 เกษตรกรได้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้าที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม เพื่อ

                       ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103