Page 18 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         9


                          ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมปี 2555  มีประมาณ 106,029  ไร่ และในอนาคตคาดว่ามีพื้นที่
               เกษตรกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่คงไม่มาก เปูาหมายในการพัฒนาแหล่งน้ า จะต้องมีปริมาณน้ าเพียงพอรองรับ

               ความต้องการใช้น้ า โดยเฉพาะภาคการเกษตร ต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ า ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในพื้นที่
               ดังนี้
                          ข้อมูลปริมาณน้ าท่า เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าคลองรับร่อ จังหวัดชุมพร  ใช้สถานีวัดน้ าท่าที่ Khong
               Rap Ro At Ban Tha Khan รหัสสถานี X46 (1976-1991) มีปริมาณน้ าท่าทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 659.96 ล้าน

               ลบ.ม.  โดยฤดูแล้ง (เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม) มีปริมาณน้ าท่าเฉลี่ย ประมาณ 61.87  ล้าน ลบ.ม.
               และฤดูฝนมีปริมาณน้ าท่าเฉลี่ย ประมาณ 598.09 ล้าน ลบ.ม. ความต้องการน้ าภาคการเกษตรปัจจุบัน  36.10
               ลบ.ม. ซึ่งยังไม่ได้รวมภาคอื่นๆ เมื่อพิจารณาปริมาณน้ าท่าเฉลี่ย กับปริมาณความต้องการใช้น้ าภาคการเกษตร
               ในปัจจุบัน ลุ่มน้ านี้มีปริมาณน้ าเพียงพอต่อความต้องการ  จากการส ารวจข้อมูล พบว่าการก่อสร้างโครงการ

               ชลประทาน ที่ได้ด าเนินงานไปเป็นลักษณะงานก่อสร้างค่อนข้างเก่า สภาพปัจจุบันมีปัญหาการตื้นเขินของสระ
               เก็บน้ าที่เกิดตะกอนดิน เศษวัชพืชและซากไม้ การขาดการดูแลรักษาท าให้เกิดการช ารุด รวมทั้งบางพื้นที่ขาด
               ระบบส่งน้ าที่มีประสิทธิภาพ ท าให้ระบบชลประทานที่มีไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่เมื่อพิจารณาปริมาณ
               น้ าท่าเฉลี่ยกับปริมาณความต้องการใช้น้ า ในปัจจุบันและในระยะยาวนั้น พื้นที่เกษตรกรรมค่อนข้างมาก และ

               การขยายตัวของชุมชนเมือง และภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มเพิ่มในอนาคต ท าให้ปริมาณน้ าท่าในฤดูแล้งมี
               แนวโน้มน้อยกว่า    ความต้องการใช้น้ าในอนาคต เพราะไม่มีแหล่งกักเก็บน้ าไว้ใช้ อีกทั้งปริมาณน้ าท่ามีความ
               ผันแปรกับฤดูกาลและความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี ดังนั้นควรมีการพัฒนาแหล่งน้ าเพื่อให้

               เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ าดังนั้นจังหวัดจึงมีแผนพัฒนาแหล่งน้ าอย่างเร่งด่วน โดยกรมชลประทาน มี
               แผนการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็ก 1 โครงการซึ่งอยู่ในแผนการก่อสร้างระยะสั้น ได้แก่ โครงการ
               ก่อสร้างอ่างเก็บน้ าคลองน้ าร้อน พร้อมระบบส่งน้ า ความจุในการกักเก็บน้ า 48 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ได้รับ
               ประโยชน์ 2,500 ไร่


               2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
                       พื้นที่ด าเนินการ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ต าบลหินแก้ว อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร บริเวณทิศเหนือ มี
               แนวเขาหินโผล่ ซึ่งเป็นต้นน้ าของคลองน้ าร้อน อยู่สูงจากระดับน้ าทะเลปานกลางประมาณ 342 เมตร แนวทิศ
               ใต้ของพื้นด าเนินการ มีแนวเขากล้วยทอดตัวยาว จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก อยู่สูงจากระดับน้ าทะเล
               ปานกลางประมาณ 174 เมตร จากการวางตัวของแนวเขาสองแนวขนานกัน ท าให้มีสภาพพื้นที่เป็นเนินเขา

               ลูกคลื่นลอนชัน ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดเทลงสู่คลองพะงันไหลอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่
               ด าเนินการ บริเวณริมสองฝั่งคลองพะงัน มีลักษณะพื้นที่ราบเรียบจนถึงลูกคลื่น ลอนลาดเล็กน้อย


               2.4 ทรัพยากรดิน
                       ผลการส ารวจดินบริเวณ พื้นที่ด าเนินการ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ต าบลหินแก้ว อ าเภอท่าแซะ จังหวัด
               ชุมพร สามารถจ าแนกชุดดิน (Soil  series)  ออกได้เป็น 4 ชุดดิน แยกเป็นประเภทดิน ได้ 25 หน่วยแผนที่
               ประกอบด้วย (ตารางที่ 3 และภาพที่ 3)

                       1. ชุดดินนาท่าม Ntm  :  Na  Tham    การจ าแนกดิน Fine-loamy,  mixed,  semiactive,
               isohyperthermic Typic (Aquic) Plinthudults
                       เกิดจากจากตะกอนน ้าพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะเป็นลูกคลื่น
               ลอนลาดจนถึงพื้นที่เนินเขา มีความลาดชัน 2-35 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ าดีถึงดีปาน

               กลาง การไหลบ่าของน้ าบนผิวดินปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้ าเร็ว และความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23