Page 8 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                         1



                                                           บทที่ 1


                                                            บทน้า


                   1.1 หลักการและเหตุผล

                          จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน ประสบกับปัญหาน้ าเน่าเสีย และมีแนวโน้มความรุนแรงในพื้นที่ชุมชนที่
                   เป็นแหล่งท่องเที่ยวส าคัญๆ ของจังหวัด โดยเฉพาะชุมชนบริเวณชายหาด ที่มีกิจการโรงแรมและสถาน
                   ประกอบการพาณิชย์หนาแน่น เช่น ในเขตชุมชนเทศบาลนครภูเก็ต   ชุมชนเทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาล

                   ต าบลกะรน เทศบาลต าบลเชิงทะเล และเทศบาลต าบลกมลา เป็นต้น    ปัญหาน้ าเน่าเสียดังกล่าว จ าเป็น
                   จะต้องมีการควบคุมและจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้คุณภาพน้ าอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายก าหนด ไม่เป็น
                   อันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน  และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                          ในกระบวนการบ าบัดน้ าเสียจะมีกากตะกอนเกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ ของการบ าบัด ทั้งจากถัง
                   ตะกอนแรก จากการใช้สารเคมี จากถังเติมอากาศ และจากถังย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจน การก าจัด

                   ตะกอนชีวภาพจากระบบบ าบัดน้ าเสียในปัจจุบันมักจะน าไปฝังกลบ เนื่องจากเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายต่ าเมื่อ
                   เปรียบเทียบกับการจัดการด้วยวิธีอื่นแต่การฝังกลบจ าเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และอาจส่งผลกระทบต่อ
                   สิ่งแวดล้อม หากมีระบบการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังมีข้อจ ากัดใน

                   ด้านของที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นในอนาคตท าให้ยากต่อการหาพื้นที่ในการฝังกลบ นอกจากนี้ยังมีการต่อต้าน
                   จากชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง กากตะกอนน้ าเสียเหล่านี้มีองค์ประกอบของธาตุอาหารและอินทรีย์สารที่มี
                   ประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยมีไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ในปริมาณที่เพียงพอต่อความ
                   ต้องการของพืช แต่จะมีปริมาณโพแทสเซียมน้อย การน ากากตะกอนเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ย

                   หมักเพื่อใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน จึงเป็นการน าวัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ เป็นการลดปัญหา
                   เกี่ยวกับการก าจัดกากตะกอนน้ าเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม การน าตะกอนชีวภาพจากระบบ
                   บ าบัดน้ าเสียที่สามารถย่อยสลายได้มาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยหมัก เป็นกระบวนการทางชีวภาพที่
                   อาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อาจเป็นกระบวนการใช้ออกซิเจนหรือไม่ใช้ออกซิเจน ภายใต้

                   สภาวะที่เหมาะสมประกอบด้วยความชื้น อุณหภูมิ รวมทั้งสัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน ผลผลิตที่ได้
                   จากการหมักจะเป็นวัสดุสีน้ าตาลด าที่มีเนื้อร่วนซุยซึ่งมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น พวก
                   ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม สามารถน าไปปรับปรุงสภาพดินและเป็นอาหารพืชได้ เป็นการลด
                   ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากสารอินทรีย์ อีกทั้งเป็นการลดปริมาตรของเสีย ซึ่งท าให้

                   งบประมาณในการขนย้ายลดลง นอกจากนี้ยังเป็นการน าชีวมวลซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากธรรมชาติ กลับมา
                   ใช้ประโยชน์โดยการแปรรูปเป็นปุ๋ยซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพดิน อย่างไรก็ตามในการน ากาก
                   ตะกอนน้ าเสียมาใช้ในการเกษตรจะต้องค านึงถึงในด้านความเหมาะสม ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยหมัก และ

                   อื่นๆ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากตะกอนน้ าเสียเพื่อใช้
                   เป็นแนวทางในการลดปัญหาการก าจัดกากตะกอนน้ าเสียต่อไป
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13