Page 97 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 97

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        76


                   ลดการไหลบ่าของน้ าแล้ว ยังใช้เป็นทางล าเลียงผลผลิตข้าวโพดออกจากพื้นที่ และเข้าไปดูแลรักษาได้
                   สะดวกอีกด้วย มีหลายหน่วยงานเข้าไปในพื้นที่มากขึ้น โดยเข้าไปอบรมให้ความรู้ ท าให้เกษตรกรมีความ

                   ต้องการจะมีการปลูกพืชยืนต้น ปลูกแทนข้าวโพด ได้แก่ มะขามหวานซึ่งทางสถานีพัฒนาที่ดินและ
                   หน่วยงานต่าง ๆ   ให้การสนับสนุน ในพื้นที่จัดระบบ จ านวน 700  ไร่ ซึ่งเมื่อไม้ยืนต้นที่ปลูกเจริญเติบโต
                   ก็สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับพื้นที่ และเกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการขายข้าวโพดเพียง
                   อย่างเดียว โดยที่เกษตรกรไม่บุกรุกป่าเพิ่มเติม ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่า ใช้ชีวิตร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
                             5.1.2 การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินภายใต้การด าเนินการของโครงการอันเนื่องมาจาก

                   พระราชด าริโครงการพัฒนาลุ่มน้ าพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ าน้ าหนาว
                                    สภาพโดยทั่วไปดินในพื้นที่โครงการฯ มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ซึ่งอาจจะเกิดจาก
                   ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน และการเขตกรรมที่ไม่ถูกวิธี โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเท่ากับ

                   5.2 ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ า คือ 1.38 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับ
                   ต่ ามาก คือ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ า คือ 27 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม ภายหลังมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ท าให้ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินมีการเปลี่ยนแปลง
                   ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 5.6 ปริมาณอินทรียวัตถุมีค่า

                   เพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.75  เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้อาจเกิดจากการสับกลบ   พืชปุ๋ยสดและการใช้น้ าหมักชีวภาพ
                   ส่วนปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โดยมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 20  อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเกิดจาก
                   ปุ๋ยเคมีที่ใส่ตกค้างในดินภายหลังการปลูกพืช การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด และระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่
                   สร้างขึ้นเพื่อลดความยาวของความลาดชันในพื้นที่ ส่งผลท าให้ปริมาณการชะล้างพังทลายลดลง ปริมาณ

                   ธาตุอาหารพืชในดินจึงไม่ถูกชะล้าง เช่นเดียวกับปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ
                   ปานกลาง โดยมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                             5.1.3  สภาพแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจสังคมในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริ
                   โครงการพัฒนาลุ่มน้ าพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ าน้ าหนาว

                                  สภาพแวดล้อมในพื้นที่โครงการฯ ประกอบด้วย พื้นที่เกษตรกรรมจ านวน 383 ไร่ พื้นที่
                   ป่าผลัดใบ จ านวน 317 ไร่ ประชากรเป็นคนไทย ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาท้องถิ่น นับถือศาสนาพุทธ
                   มีครัวเรือนจ านวน 146 หลังคาเรือน ประชากรจ านวน 542  คน ชายจ านวน 268  คน หญิงจ านวน 274

                   คน เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชไร่มาเป็นไม้ผลและไม้ยืนต้น เช่น เงาะ มะม่วง และยางพารา รายได้
                   ของประชากรส่วนใหญ่มาจากการขายผลผลิตทางการเกษตร และรับจ้างทั่วไป โดยมีรายได้เฉลี่ย
                   62,464.78 บาทต่อครัวเรือนต่อปี
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102