Page 87 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 87

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        67


                                    - พื้นที่มีความลาดชัน 20-35  เปอร์เซ็นต์ จะมีปริมาณการสูญเสียดินเท่ากับ 27.66

                   ตันต่อไร่ ซึ่งค่าการสูญเสียดินตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายอยูในระดับรุนแรงมากที่สุด
                   ภายหลังจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า จะมีปริมาณการสูญเสียดินในพื้นที่ลดลงเท่ากับ 3.10 ตันต่อไร่
                   ท าให้ปริมาณการสูญเสียดินของพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง
                                    - พื้นที่มีความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์ จะมีปริมาณการสูญเสียดินเท่ากับ

                   45.93  ตันต่อไร่ ซึ่งค่าการสูญเสียดินตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับรุนแรงมาก
                   ที่สุด ภายหลังจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า จะมีปริมาณการสูญเสียดินในพื้นที่ลดลงเท่ากับ 4.17 ตันต่อ
                   ไร่ ท าให้ปริมาณการสูญเสียดินของพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง
                            เมื่อทราบปริมาณปริมาณน้ าไหลบ่าการสูญเสียดินและในพื้นที่โครงการ เพื่อลดปริมาณปริมาณ

                   การสูญเสียดินและกักเก็บน้ าไว้ในพื้นที่ สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์จึงได้ก าหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและ
                   น้ าได้ ดังนี้ (ตารางที่ 10)
                              (1) จัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ในปีงบประมาณ 2559 ครอบคลุมพื้นที่ 700 ไร่
                   มีกิจกรรมที่ด าเนินการ  2  กิจกรรม ประกอบด้วย คูรับน้ าขอบเขา (แบบที่  6)  จ านวน 41.78  กิโลเมตร

                   และก่อสร้างอาคารชะลอความเร็วของน้ า จ านวน 15 จุด (ภาพที่ 6) ปริมาณน้ าไหลบ่าเหล่านี้จะถูกเก็บกัก
                   โดยมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าคันดินแบบที่ 6 โดยการซึมลงในดินท าให้ดินมีความชุ่มชื้น บางส่วนที่เหลือ
                   ถูกเบนลงสู่อาคารชะลอความเร็วของน้ า ร่องน้ าธรรมชาติ พื้นที่นาในระหว่างหุบเขา และไหลลงสู่น้ าภาค

                   ต่อไป
                              (2)  การปลูกหญ้าแฝก เพื่อปูองกันการชะล้างพังทลายของดิน และรักษาความชุ่มชื้นในดิน
                   โดยการปลูกแฝกตามแนวคูรับน้ าขอบเขา แบบที่ 6  ที่ด าเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในปี 2559
                   เพื่อปูองกันดินพังทลาย โดยใช้หญ้าแฝกแบบเปลือยราก ปลูกในช่วงที่ฝนตกชุกติดต่อกัน ระยะปลูก
                   ระหว่างต้น 5 เซนติเมตร จ านวน 80,000 กล้า

                              (3) การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และปรับปรุงโครงสร้าง
                   ของดินในพื้นที่ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) หว่านทั่วแปลง ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
                   หลังจากออกดอกเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ แล้วสับกลบในพื้นที่จ านวน 100 ไร่
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92