Page 80 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        62


                   ส าหรับการเจริญเติบโตของพืช ถูกพัดพาออกไปนอกพื้นที่ท ากิน ปูองแหล่งน้ าตื้นเขิน และรักษา

                   คุณภาพน้ า นอกจากนี้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดินและต้นไม้ที่ปลูก หญ้าแฝกมีระบบรากที่ลึก สามารถ
                   ดูดความชื้นจากใต้ดินมาสู่บนผิวดินท าให้ผิวดินมีความชุ่มชื้น และใบหญ้าแฝกสามารถน้ ามาตัดคลุมโคน
                   ต้นไม้ที่ปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นได้  โดยแนะน าให้ใช้หญ้าแฝกสายพันธุ์ศรีลังกา เป็นสายพันธุ์แฝกลุ่ม
                   เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่เป็นภูเขาอากาศหนาวเย็น มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับ

                   สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีและค่อนข้างรวดเร็ว เป็นสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ อ าเภอน้ าหนาว
                   จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยปลูกเป็นแถวตามแนวขอบคันดิน ระยะห่างระหว่างต้น 5-10 เซนติเมตร
                              (3) การปรับปรุงบ ารุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ
                                - การผลิตและใช้ปุ๋ยหมัก จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เพื่อปรับโครงสร้างดิน และเพิ่ม

                   ความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ปกติเกษตรกรมีการปรับปรุงบ ารุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอกอยู่แล้ว โดยน ามูลสัตว์
                   เหล่านั้นมาใส่นาข้าว แต่พบปัญหาในนาข้าวมีวัชพืชที่ติดมากับปุ๋ยคอกงอกในนาข้าวมาก จึงได้ส่งเสริม
                   การผลิตปุ๋ยหมักจาก สารเร่งซุปเปอร์ พด.1  ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการเร่งกระบวนการหมัก
                   ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุได้รวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาการหมักให้สั้นลง โดยแนะน าไปใช้โรยบริเวณรอบ

                   ทรงพุ่มต้นมะขามหวาน ในอัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น เพียงปีละ 2 ครั้ง และใช้รองก้นหลุมไม้ผลเพื่อช่วย
                   ลดต้นทุนการผลิต ท าให้ดินร่วนซุยขึ้น ส่วนในพื้นที่แปลงนาที่ได้รับการปรับพื้นที่นาจากวัสดุทับถม
                   บางแปลงโครงสร้างของดินเป็นทรายมาก การปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด ไม่สามารถด าเนินการได้

                   จึงแนะน าให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยหมักในการปรับปรุงดินและปรับโครงสร้างของดิน โดยใช้ในอัตรา
                   1 ตันต่อไร่
                                - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) เกษตรกรเห็นว่าการใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ต้องใช้แรงงานมาก
                   ในการปรับปรุงดิน และการท าปุ๋ยหมักต้องใช้เวลา แต่ถ้าเป็นปุ๋ยพืชสดจะท าได้ง่ายกว่า จึงมีความต้องการ
                   ที่ขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทือง เพื่อน าไปหว่านเป็นพืชปุ๋ยสดปรับปรุงดินในนาข้าวและแปลง

                   มะขามหวาน ผู้ศึกษาจึงได้สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทืองให้กับเกษตรกร โดยแนะน าให้เกษตรกรเก็บ
                   ตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ ก่อนที่จะหว่านปอเทืองลงไปในพื้นที่แปลงนา เพื่อปรับปรุงบ ารุงดิน  ในอัตรา 5
                   กิโลกรัมต่อไร่ และไถกลบเมื่อปอเทืองที่อายุประมาณ 50–55 วัน หรือเมื่อออกดอกเต็มที่

                                -  การผลิตน้ าหมักชีวภาพ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 โดยใช้น้ าหมักชีวภาพที่ได้จาก
                   การหมักผลไม้และผักที่มีในท้องถิ่น โดยก่อนใช้ผสมน้ าหมักชีวภาพเข้มข้น 1 ลิตรต่อน้ าสะอาด 500 ลิตร
                   ฉีดพ่นที่ใบและล าต้นพืชผักสวนครัว และนาข้าว 10 วันต่อครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มการ
                   ขยายตัวของใบ และการยืดตัวของล าต้น ท าให้ออกดอกและติดผลดีขึ้น และใช้น้ าหมักเข้มข้น 5 ลิตรต่อไร่

                   ผสมน้ าราดในแปลงนาข้าวในตอนท าเทือกนา
                                 - การผลิตน้ าหมักสมุนไพร จากสารเร่งพด.7 เพื่อผลิตสารปูองกันก าจัดแมลงศัตรูพืช และ
                   ลดต้นทุนการใช้สารเคมี โดยฉีดพ่นอัตรา 100 ลิตรต่อไร่ ที่ใบและล าต้น และรดลงดินทุก ๆ 10–20 วัน
                   หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง ในการใช้ผสมน้ าสะอาด 200

                   ลิตร ต่อสารปูองกันแมลงเข้มข้น 1 ลิตร
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85