Page 19 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         9


                   2.2 สภาพภูมิอากาศ
                           2.2.1  ลักษณะภูมิอากาศ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริโครงการพัฒนาลุ่มน้ า

                   พัฒนาคุณภาพชีวิตต้นน้ าน้ าหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้น าลักษณะภูมิอากาศของ จังหวัดเพชรบูรณ์มา
                   พิจารณาใช้เป็นตัวแทนลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่โครงการฯ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับ
                   แห้งแล้งหรือเขตฝนเมืองร้อน (Tropical  Savannah  climate)  เป็นลักษณะอากาศที่มีความแห้งแล้งใน
                   ฤดูหนาว มีความแตกต่างระหว่างฤดูฝนกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน (กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน, 2556) บริเวณนี้
                   ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดพาเอาความชื้นจากทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียมา

                   ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ต่อจากนั้นอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศ
                   จีนและไซบีเรียพัดผ่านท าให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
                   โดยเฉพาะพื้นที่อ าเภอน้ าหนาว อ าเภอเขาค้อและอ าเภอหล่มเก่าจะมีอากาศหนาวที่สุด ในฤดูฝนมีฝนตก

                   ชุก และมีน้ าป่าไหลหลากมาท่วมในที่ราบ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ าป่าสักตอนใต้ของจังหวัด ในฤดูแล้ง
                   น้ าจะขาดแคลนไม่เพียงพอกับการเกษตร สามารถแบ่งฤดูกาลได้ดังนี้ (ส านักงานจังหวัดเพชรบูรณ์,
                   ม.ป.ป.)
                                 1)  ฤดูร้อน  เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมมีอากาศร้อน

                   อบอ้าวทั่วไป โดยเฉพาะในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี
                                    2) ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระยะที่มรสุม
                   ตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย  อากาศจะเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่ประมาณกลางเดือน
                   พฤษภาคมเป็นต้นไป เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนกันยายน

                                 3) ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุม
                   ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง เดือนที่มีอากาศหนาว
                   ที่สุดคือ เดือนมกราคม
                            จากการรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิอากาศ จากส านักงานสถิติแห่งชาติเฉลี่ย 12 ปี (พ.ศ.  2546-2558)

                   พบว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 40.20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 11.70 องศาเซลเซียส ปริมาณ
                   น้ าฝนรวมทั้งปีเฉลี่ย 955  มิลลิเมตร โดยในปี 2557  มีปริมาณน้ าฝนต่ าสุดในรอบ 12  ปี มีค่าเท่ากับ
                   682.80 มิลลิเมตร (ตารางที่ 1)  ส าหรับสถิติภูมิอากาศช่วงปี 2546-25555  (คาบ 10  ปี) สรุปได้ ดังนี้คือ

                   มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.96 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 20.04 องศาเซลเซียส ค่าความชื้น
                   สัมพัทธ์เฉลี่ย 73.85 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดในเดือนกันยายน 84.40 เปอร์เซ็นต์ และต่ าสุดใน
                   เดือนมีนาคม  64.00 เปอร์เซ็นต์  ค่าการคายระเหยน้ าของพืชอ้างอิงเฉลี่ย 115.61 มิลลิเมตรต่อเดือน
                   โดยที่ช่วงเดือนเมษายนมีค่าศักย์การคายระเหยของพืช อ้างอิงสูงสุดประมาณ 150.30 มิลลิเมตรต่อเดือน
                   และเดือนธันวาคม มีค่าศักย์การคายระเหยของพืชอ้างอิงต่ าสุดประมาณ 93.00 มิลลิเมตรต่อเดือน

                   ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยสูงสุดเดือนกันยายนปริมาณ 240.20 มิลลิเมตร ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยต่ าสุดเดือนธันวาคม
                   ปริมาณ 5.30 มิลลิเมตร ปริมาณน้ าฝนรวมทั้งปี 1,208.39 มิลลิเมตร (ตารางที่ 2)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24