Page 21 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจสอบดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
ผลการทดลองและวิจารณ์
จากการศึกษา การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามส าหรับให้ค าแนะน าปุ๋ยในการปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลการทดลองเป็นดังนี้
1. ปริมาณน้ าฝนปี 2558 - 2559
ปริมาณน้ าฝนช่วงที่ท าการวิจัย พบว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558
มีฝนตกสะสมทั้งสิ้น 582.4 มิลลิเมตร ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด แสดงดังตาราง
ภาคผนวกที่ 6
2. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
2.1 สมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลอง
จากผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนด าเนินการทดลอง พบว่า ดินมีค่าความเป็น
กรดเป็นด่าง (pH) เท่ากับ 6.5 มีความกรดเล็กน้อย (slightly acid) ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) มีค่า
เท่ากับ 1.50 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ า (moderately low) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์ (Avail. P) มีค่าเท่ากับ 37 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในเกณฑ์สูง (high) และปริมาณ
โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Avail. K) มีค่าเท่ากับ 70.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
(moderately) แสดงดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สมบัติทางเคมีดินก่อนการทดลอง
สมบัติดิน ผลวิเคราะห์ หน่วย
ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 6.5
ปริมาณอินทรียวัตถุ 1.5 เปอร์เซ็นต์
-1
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 37.0 mg kg
-1
ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 70.5 mg kg
ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 (2558)
2.2 เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง
การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ทุกต ารับทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี คือต ารับการทดลองที่ 2 ถึง 6 มีค่าลดต่ าลงกว่าก่อนการทดลอง
เนื่องจากอิทธิพลจากผลตกค้างความเป็นกรดจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน แต่ยังอยู่ในพิสัยที่เหมาะสมต่อ
การเจริญเติบโตของพืช คือมีค่าระหว่าง 5.6-6.4 ส่วนต ารับควบคุมซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี มีค่าความเป็น
กรดเป็นด่างเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง คือ เพิ่มขึ้นจาก 6.0 เป็น 6.6
ปริมาณอินทรียวัตถุในดินหลังการทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน เนื่องจากทุกต ารับการ
ทดลองไม่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 1.38 ถึง 1.60 เปอร์เซ็นต์ เป็นพิสัยค่อนข้างต่ าถึงปาน
กลาง