Page 66 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          58





                     5.2 การประเมินความถูกต้องของแผนที่แสดงความลาดชัน (Thematic Accuracy)

                                การประเมินความถูกต้องของแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่ที่จัดท าขึ้นในระบบ
                     สารสนเทศภูมิศาสตร์ ภายใต้โครงการนี้จะใช้วิธีการสุ่มส ารวจรังวัดความลาดชันของพื้นที่ในต าแหน่งต่าง ๆ

                     โดยวิธีการที่มีความถูกต้องสูงกว่า น ามาเปรียบเทียบกับชั้นความลาดชันของพื้นที่ที่ปรากฏบนแผนที่แสดง

                     ความลาดชัน ณ ต าแหน่งเดียวกัน แล้วรายงานผลความผิดพลาดของชั้นความลาดชันบนแผนที่ โดยมีแนวทาง
                     การด าเนินงาน ดังนี้

                                5.2.1  การประเมินความถูกต้องของแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่ โดยวิธีการเปรียบเทียบ

                     ค่าความลาดชันเฉลี่ยที่ค านวณได้จากพิกัดทางราบและทางดิ่งของจุดตรวจสอบที่ได้จากการรังวัดด้วย
                     ดาวเทียมจีพีเอส วิธีการจลน์ในทันที (Real Time Kinematic survey : RTK) ที่มีความถูกต้องสูงกว่า

                     เปรียบเทียบกับความลาดชันของพื้นที่ในต าแหน่งเดียวกันบนแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่ของแต่ละ
                     จังหวัดที่จัดท าขึ้น โดยมีแนวทางการด าเนินการดังนี้

                                      1) การก าหนดจุดตรวจสอบหรือจุดส าหรับประเมินความถูกต้องของแผนที่แสดง
                     ความลาดชันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในส านักงานด้านการใช้แผนที่ การวิเคราะห์สภาพภูมิประเทศ

                     จากข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน แผนที่สภาพความลาดชัน

                     และข้อมูลเส้นชั้นความสูง  การปฏิบัติงานในสนามด้านการส ารวจรังวัดเพื่อก าหนดต าแหน่งด้วยดาวเทียม
                     จีพีเอส แบบ RTK ตลอดจนการค านวณเพื่อการประเมินค่าความถูกต้องของแผนที่ ดังนั้นจึงเป็นขั้นตอน

                     ที่มีความส าคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ด าเนินงานควรพิจารณาด าเนินการให้ถูกต้องตามแนวทางที่ก าหนดไว้ดังนี้

                                         1.1) ก าหนดจุดตรวจสอบบนแผนที่แสดงความลาดชันที่จัดท าขึ้น โดยจุดตรวจสอบ
                     ที่ก าหนดขึ้นนั้นเมื่อท าการรังวัดพิกัดทางราบและทางดิ่งแล้วจะต้องสามารถน ามาค านวณหาค่าความลาดชัน

                     เฉลี่ยของพื้นที่ได้เป็น จ านวน ไม่น้อยกว่า 30 พื้นที่ที่ต้องการเปรียบเทียบค่าหรือประเมินความถูกต้องของ
                     แผนที่

                                         1.2) จุดตรวจสอบที่จะมาค านวณค่าความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ย ต้องก าหนด
                     จุดทดสอบให้อยู่บนแนวเส้นตรงเดียวกันในทิศทางตามความลาดเทของพื้นที่โดยพิจารณาจากแนวเส้นตรง

                     ที่ลากผ่านจุดทดสอบที่ก าหนดตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปควรจะอยู่ในแนวตั้งฉาก (โดยประมาณ) กับเส้นชั้นความสูง

                     ที่ซ้อนทับบนแผนที่แสดงความลาดชัน
                                         1.3) จุดตรวจสอบที่จะน ามาค านวณหาค่าความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ยต้องเป็น

                     จุดทดสอบที่อยู่ภายในขอบเขตของพื้นที่รูปปิดเดียวกัน และอยู่ในแนวเส้นตรงที่ตั้งฉากโดยประมาณกับ

                     เส้นชั้นความสูง
                                         1.4) จุดตรวจสอบที่ใช้ในการค านวณความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ยที่น ามาใช้

                     ในการประเมินความถูกต้องของแผนที่แสดงความลาดชันที่จัดท าขึ้นควรจะกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่
                     ของทั้งจังหวัด โดยมีจ านวนของจุดทดสอบและจ านวนของตัวแทนของพื้นที่ที่ท าการเปรียบเทียบความลาดชัน
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71