Page 48 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          40




                     4.6 การส ารวจ เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันของพื้นที่ไปจากเดิม
                                การส ารวจ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่เป้าหมายที่อาจมีผลกระทบต่อความลาดชันของพื้นที่

                     โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์พื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
                     เป็นขั้นตอนที่มีความส าคัญ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องจัดเตรียมข้อมูลและวางแผนการด าเนินงานให้เหมาะสมและ

                     สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ระยะเวลา งบประมาณ เครื่องมือและยานพาหนะที่น าไปใช้ปฏิบัติงานในภูมิประเทศ

                     โดยมีแนวทางและวิธีการปฏิบัติงาน ดังนี้
                                4.6 1 ก าหนดพื้นที่ที่เข้าไปส ารวจและเก็บข้อมูลในภูมิประเทศโดยพิจารณาคัดเลือกพื้นที่

                     เป้าหมายจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและลักษณะทางกายภาพในข้อ 4.5 โดยจัดล าดับ

                     เรียงตามความส าคัญในการเข้าส ารวจพื้นที่
                                4.6 2 วางแผนการเดินทางและก าหนดเส้นทางในการเข้าถึงพื้นที่โดยพิจารณาจากแผนที่และ

                     ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
                                4.6 3 จัดเตรียมแผนที่บริเวณพื้นที่เป้าหมายที่ท าการส ารวจ มาตราส่วน 1:4,000

                     ประกอบด้วยภาพถ่ายออร์โธสี ซ้อนทับด้วยเส้นชั้นความสูง ข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ และขอบเขตของ
                     พื้นที่เป้าหมายที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันไปจากเดิม

                                4.6 4 น าเข้าพิกัดและข้อมูลแผนที่พื้นที่เป้าหมายจัดเก็บไว้ในเครื่องจีพีเอสแบบพกพา

                     ส าหรับใช้ในการค้นหาต าแหน่งของพื้นที่เป้าหมายได้อย่างสะดวกและถูกต้อง
                                4.6 5 ส ารวจและเก็บข้อมูลในภูมิประเทศตามแผนที่วางไว้ โดยให้ท าการรังวัดขอบเขต

                     ของพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันไปจากเดิม ทั้งนี้หากไม่สามารถด าเนินการรังวัดขอบเขตได้

                     ให้ใช้วิธีการขีดขอบของพื้นที่เฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพความลาดชันเท่านั้น ลงบนภาพถ่ายออร์โธสี
                     ที่จัดเตรียมไว้ พร้อมทั้งถ่ายรูปพื้นที่ดังกล่าวในมุมมองต่างๆ ตามความเหมาะสมด้วย ส าหรับบริเวณพื้นที่

                     เป้าหมายใดไม่มีหรือไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพความลาดชันที่ชัดเจน ให้บันทึกข้อมูลพร้อมถ่ายรูปไว้
                     เป็นหลักฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง แก้ไขในขั้นตอนต่อไป


                     4.7 การจัดท าและปรับปรุงข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน

                                น าข้อมูลพิกัดและขอบเขตของพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพความลาดชันไปจากเดิมที่ได้

                     จากการส ารวจใช้เป็นข้อมูลในการจัดท าและปรับปรุงสภาพความลาดชันของพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน ดังนี้
                                4.7.1 สร้างชั้นข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันในระบบ

                     สารสนเทศภูมิศาสตร์ตามขอบเขตที่ได้จากการส ารวจรังวัดด้วยเครื่องจีพีเอส และข้อมูลที่ได้จากการขีดขอบเขต
                     โดยประมาณลงบนแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่เข้าท าการส ารวจและพบการเปลี่ยนแปลง

                     สภาพความลาดชันไปจากเดิมเท่านั้น

                                4.7.2 จัดท าตารางข้อมูลคุณลักษณะ (Attribute  Data)  ของชั้นข้อมูลความลาดชันของแต่ละ
                     จังหวัดโดยใช้การค านวณเนื้อที่ของข้อมูลความลาดชันที่จัดท าขึ้นด้วยโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์

                                4.7.3 จัดท าพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ของชั้นข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ คือ
                     ข้อมูลที่เก็บรวบรวมรายละเอียดต่างๆของข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่จัดท าขึ้นหรือจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53